Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อจัดระบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม โดยการค้นหาลักษณะเฉพาะของเกษตรกรรมที่จะเป็นจุดดึงดูดและสนับสนุนโครงข่ายการท่องเที่ยว ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่ต่อเนื่อง ได้แก่ บางส่วนของจังหวัดสระบุรี บางส่วนของจังหวัดชัยภูม บางส่วนของจังหวัดขอนแก่น บางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมพื้นที่ศึกษาทั้งสิน 30,195.01 ตารางกิโลเมตร จาก 45 อำเภอ 6 กิ่งอำเภอ ใน 6 จังหวัด โดยการศึกษาองค์ประกอบของระบบการท่องเที่ยว รูปแบบและแนวคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยว ตลอดจน ระบบเกษตรกรรม รูปแบบ แนวคิดในการทำการเกษตร เพี่อกำหนดปัจจัยในการวิเคราะห์ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ซึ่งประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านคุณค่าของแหล่งเกษตรกรรม สภาพการเข้าถึง สิ่งอำนวย ความสะดวก สภาพแวดล้อม ขีดจำกัดในการรองรับนักท่องเที่ยว และการบริหารจัดการการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังศึกษาตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ด้วยการสำรวจโครงสร้าง ความคิดเห็นและความต้องการของนักท่องเที่ยวทั่วไปและนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม การวิเคราะห์เพี่อค้นหาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมได้ใช้วิธีการต่าง ๆ คือ 1) จัดลำดับความสำคัญของแต่ละปัจจัย ด้วยการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว และหาค่าเฉลี่ย 2) คำนวนค่าคะแนนรวมชองพื้นที่เกษตรกรรมแต่ละแห่ง 3) กำหนดค่าศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมเป็น 3 ระดับ คือ สูง ปานกลาง ตํ่า 4) จัดกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมตามค่าศักยภาพและการกระจายตัวในพื้นที่ ในการวิเคราะห์ตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมได้ใช้การกระจายส่วนร้อย ประกอบกับการศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา เพี่อค้นหาแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมความเป็นไปได้และโอกาสในการเชื่อมโยงกับโครงข่ายการท่องเที่ยวหลักของจังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะเฉพาะของเกษตรกรรมในพื้นที่ศึกษามีลักษณะดังนี้ 1) มีคุณค่าของแหล่งเกษตรกรรมในด้านกายภาพ ชีวภาพ แนวคิด เทคโนโลยี วิถีเกษตร ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ 2) มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวสูง และ 3) เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่อยู่ในโครงข่ายการท่องเที่ยวหลักของจังหวัดนครราชสีมาหรือใกล้เคียง โดยที่จำแนกกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมที่ควรพัฒนาได้ 5 กลุ่ม คือ 1) กลุ่ม อ.มวกเหล็ก สระบุรี'- อ .สีคิ้ว - ปากช่อง จ .นครราชสีมา 2) กลุ่มอ.เมืองนครราชสีมา - อ.โชคชัย - อ.ปักธงชัย ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้มีศักยภาพสูงควรส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเซิงเกษตรกรรมหลักของพื้นที่ 3) กลุ่ม อ.โนนไทย -ขามสะแกแสงและพิมาย เหมาะสมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเสริมของพื้นที่ 4 ) กลุ่มอ.วังน้ำเขียว มีความเป็นไปได้สูงที่จะพัฒนาให้การ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมเป็นภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของพื้นที่ 5) กลุ่มอ.ครบุรี - เสิงสาง จ.นครราชสีมา อ.โนนสุวรรณ – หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวตํ่าที่สุดเนื่องจากอยู่ห่างจากโครงข่ายการท่องเที่ยวหลักของพื้นที่