dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายแนวคิดและประเมินการอ้างเหตุผลของนามนิยมแบบทฤษฎีโทรปในฐานะสิ่งพื้นฐานทางภววิทยา โดยที่สิ่งสากลของสัจนิยมมิฐานะเป็นสิ่งที่ได้มาจากโทรป และสิ่งเฉพาะรูปธรรมของนามนิยมแบบอื่นก็ประกอบขึ้นจากโทรป ปัจจุบันมีทฤษฎีโทรปอยู่สามรูปแบบซึ่งแตกต่างกัน คือ ทฤษฎีโทรปแบบกลุ่มคุณลักษณะทฤษฎีโทรปแบบสาระ และทฤษฎีนิวเคลียร์ ในขึ้นต้นผู้วิจัยได้หารูปแบบที่เหมาะสมที่สุดที่จะได้ชื่อว่าเป็นนามนิยมแบบทฤษฎีโทรป จากการศึกษาพบว่ารูปแบบดังกล่าวนั้นก็คือ ทฤษฎีโทรปแบบกลุ่มคุณลักษณะในขั้นต่อมา ผู้วิจัยจึงได้เสนอการอ้างเหตุผลของทฤษฎีโทรปแบบกลุ่มคุณลักษณะ โดยยกตัวอย่างจากวิลเลียมส์ และแคมพ์เบล ซึ่งปรากฏในงาน ‘ธาตุแห่งภวันต์’ และ ‘สิ่งเฉพาะนามธรรม’ ตามลำดับ เพื่อให้ข้อเสนอมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยก็ได้เพิ่มเติมและประเมินข้อสนับสนุนทฤษฎีโทรปแบบกลุ่มลักษณะของแคมพ์เบลที่ กล่าวถึงการได้เปรียบกว่าทฤษฎีสิ่งสากลและนามนิยมแบบความคล้ายด้วย ข้อคัดค้านที่สำคัญต่อทฤษฎีโทรปแบบกลุ่มคุณลักษณะมิอยู่สองประการ ประการแรก คือ ปัญหาการทำให้คุณลักษณะเป็นสิ่งเฉพาะ โดยจะพิจารณาจากสามปัญหา คือ ปัญหาของเทอม ‘สิ่งเฉพาะ นามธรรม’, ปัญหาการทำความสัมพันธ์ให้เป็นสิ่งเฉพาะ, และปัญหาโทรปสลับ ประการที่สอง คือ ปัญหาเซตของความเหมือนและผลรวมการปรากฏพร้อมของโทรป ส่วนนี้แยกออกเป็นสองประเด็นย่อย คือ ประเด็นเซตของความเหมือนของโทรป พิจารณาจากข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเทอมเอกพจน์และเทอมทั่วไป, การถดถอยในความสัมพันธ์ของความเหมือน, การเป็นเอกลักษณ์ของเทอมที่บ่งถึงเซตว่าง ส่วนประเด็นผลรวมการปรากฏพร้อมของโทรปพิจารณาจากความสัมพันธ์ในการปรากฏพร้อม, การไม่ใช่สาระของโทรป, การเป็นข้อความเชิงวิเคราะห์ของข้อความที่มีภาคประธาน-ภาคแสดง, และความสัมพันธ์ของสิ่งเฉพาะรูปธรรม เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ บางส่วนมีการตอบโต้แย้งไว้แล้วโดยแคมพ์เบล ผู้วิจัยจึงตรวจสอบการอ้างเหตุผลของเขาร่วมไว้ด้วย วิทยานิพนธ์นี้จะแสดงเหตุผลให้เห็นว่าเหตุใดข้อคัดค้านเหล่านั้นจึงไม่ใช่ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล และไม่อาจล้มล้างทัศนะของนามนิยมแบบทฤษฎีโทรปลงได้ |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this thesis is to explain and evaluate the trope nominalistic view about the basic ontological entities, abstract particulars or tropes, from which the universals of realism are derived, and the concrete particulars of another nominalisms are constituted. There are at present three different versions of trope theory; bundle theory of trope, substance trope theory, and nuclear theory. At the first stage, I tried to find the most appropriate version for the trope nominalism. The studies revealed that the bundle theory of trope is the case. At the second stage, I introduce the arguments of the bundle theory of trope from Williams and Campbell, which appeared in The Elements of Being’ and ‘Abstract Particulars’ respectively. To strengthen the proposal, I include and evaluate Campbell ’s support to the trope theory, arguing that it has an advantage over theory of universals and resemblance nominalism. There have been two important objections to the bundle theory of trope. First is the problem of the particularization of attributes. I consider three problems; the troubles with the term ‘abstract particulars’, particularization of relations, and swapped tropes. Second is the problem of similarity set and concurrence sum of tropes. This section is divided into two topics. The first topic, similarity set of tropes, is considered from the argument from singular term and general term, resemblance regress, and identity of the terms referring to null set. The second topic, concurrence sum of tropes, is considered from the relation of concurrence, insubstantiality of tropes, analyticalyzation of subject-predicate statements, and relations of concrete particulars. Due to the fact that some problems have already been answered by Campbell, I examine his answers along with them. I will strengthen Campbell’s answer, and show why all of these objections to the trope theory are invalid and not successful in overthrowing the trope nominalistic view. |
|