Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างมาตราวัดฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่อาชีพ คะแนนสินค้าบริโภคประเภทถาวรและการศึกษา การทดสอบความถูกต้องพิจารณาจากความสอดคล้องของมาตราวัดนี้กับดัชนีอื่นๆ ที่วัดฐานะของครอบครัวเช่นฐานะของครอบครัวสายตาผู้สัมภาษณ์ความเพียงพอของรายได้ ขนาดบ้าน สภาพบ้าน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาความสัมพันธ์เชิงทฤษฎีของมาตราวัดนี้กับลักษณะอื่นๆ ทางประชากรของครอบครัวเช่นจำนวนบุตร จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ จำนวนบุตรเกิดรอด สมาชิกในครัวเรือน และเชื้อชาติ การสร้างมาตราวัดฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวหรือของหัวหน้าครัวเรือนดังกล่าวซึ่งมีประโยชน์ต่อการกำหนดฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวจากข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนน้อย ดัชนีที่ได้นี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งฐานะของประชากรที่ศึกษา ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลที่ได้มาจากโครงการวิจัยต่อเนื่องระยะยาวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและประชากรในเขตเมืองดำเนินการโดยสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนและภรรยาและสตรีที่สมรสแล้วในครัวเรือนที่ทำเป็นตัวอย่าง มาตราวัดฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่สร้างขึ้นอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือการศึกษา อาชีพและการมีสินค้าบริโภคประเภทถาวรไว้ในครอบครองโดยมีการให้คะแนนแก่ปัจจัยทั้งสาม การให้คะแนนนี้ทำได้โดยอาศัยการกระจายความถี่สะสม
(Ogive) จากจุดสัมพันธ์ (Coordinates) ของจำนวนปีการศึกษากับแกนตั้งอัตราส่วนร้อยสำหรับคะแนนการศึกษา จุดสัมพันธ์ของคะแนนสินค้าบริโภคประเภทถาวรกับแกนตั้งสำหรับคะแนนอัตราส่วนร้อยสินค้าบริโภคประเภทถาวร คะแนนอาชีพอัตราส่วนร้อยคำนวณจากระดับการศึกษาเฉลี่ยและคะแนนสินค้าบริโภคประเภทถาวรของแต่ละอาชีพมาตราวัดฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio-economic Status) ของแต่ละครอบครัวหรือของหัวหน้าครัวเรือนพิจารณาจากคะแนนอัตราส่วนร้อยของการศึกษา คะแนนอัตราส่วนร้อยของสินค้าบริโภคประเภทถาวรและคะแนนอัตราส่วนร้อยของอาชีพของบหัวหน้าครัวเรือนซึ่งได้ทดสอบหาควาสัมพันธ์ของมาตราวัดฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมนี้กับดัชนีทั้งสามพบว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงค่อนข้างสูงและเมื่อนำมาตราวัดนี้ไปทดสอบความถูกต้องและความเชื่อถือได้โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีที่วัดฐานะของกรอบครัวเช่นความพอเพียงของรายได้ ฐานะของครอบครัวในสายตาผู้สัมภาษณ์และสภาพบ้าน ปรากฎว่ามีความสัมพันธ์กันโดยตรงและค่อนข้างสูงแสดงว่ามาตาวัดที่สร้างขึ้นนี้มีความถูกต้องและเชื่อถือได้พอสมควร นอกจากนี้ยังได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมาตราวัดที่สร้างขึ้นนี้กับลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมและประชากรต่างๆ เช่นจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ จำนวนบุตรเกิดรอด จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ ความสัมพันธ์ที่พบนี้มีความสัมพันธ์ในทางลบ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติและฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมนั้นพบว่าพวกเชื้อชาติไทยส่วนใหญ่มีฐานะดีกว่าคนเชื้อชาติจีนแต่พวกไทย-จีนมีฐานะดีกว่าสองพวกแรก ส่วนพวกกลุ่มอื่นๆ นั้นมีฐานะดี สรุปผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้คือมาตราวัดฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่สร้างขึ้นมีความถูกต้องและเชื่อถือได้พอสมควรพอที่จะนำไปกำหนดแบ่งแยกฐานะทางเศรษฐกิจและ/หรือทางสัมคมของประชากรได้