Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพทั่วไปของพื้นที่สีเขียวสำหรับชุมชนเมืองนครราชสีมา การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์พื้นที่สีเขียว และสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงตลอด จนความต้องการพื้นที่สีเขียวชองชุมชน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาที่จะนำพื้นที่สีเขียวมาใช้ประโยชน์ในแง่ชองการพักผ่อน และนันทนาการให้กับชุมชน โดยในการศึกษาครั้งนี้แบ่งพื้นที่สีเขียวออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ พื้นที่สวนสาธารณะ พื้นที่ว่างสาธารณะ พื้นที่เกษตรกรรมและ พื้นที่ธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ สภาพการพัฒนาเมืองนครราชสีมาในปัจจุบัน ได้ส่งผลต่อการลดลงของพื้นที่สีเขียว และคุณภาพชีวิตของคนในเมือง อันเนื่องมาจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นชองอาคารและสิ่งปลูกสร้าง จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบการใช้ที่ดินในช่วง 3 เวลา ได้แก่ ช่วงปี 2532,2538 และ 2542 พบว่าพื้นที่สีเขียวของเมืองมีสัดส่วนในทิศทางที่ลดลง โดยในปี 2532 มีพื้นที่สีเขียวในชุมชนร้อยละ 84 ปี 2538 ชุมชนมีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 74.37 และในปี 2542 ลดลงเหลือร้อยละ 70 และจากการศึกษาถึงปัญหาของพื้นที่สีเขียวในชุมชนพบว่าปัญหาของพื้นที่สีเขียวนั้นพื้นที่สีเขียวนั้นพบว่าพื้นที่สีเขียวประเภทสวนสาธารณะมีปัญหาในเรื่องความไม่เพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐาน การกระจายตัวไม่ครอบคลุมพื้นที่ ตลอดจนความไม่เพียงพอในเรื่องการสิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนปัญหาของพื้นที่สีเขียวประเภทอื่นพบปัญหาในเรื่องเมืองขาดธรรมชาติ พื้นธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์และพื้นที่เกษตรกรรมถูกบุกรุก ในส่วนความต้องการพื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการนั้นต้องการสวนสาธารณะในระดับละแวกบ้านและระดับย่าน สำหรับแนวทางการพัฒนาได้กำหนดมาจากปัญหาและความต้องการโดยกำหนด 3 แนวทาง ได้แก่ การค้นหาที่ว่างเพื่อการพัฒนาเป็นสวนสาธารณะอันได้แก่ พื้นที่ว่างตามแนวทางรถไฟบริเวณชุมชนสืบศิริ ที่ว่างบริเวณสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ ที่ว่างบริเวณสถานีรถไฟบ้านโคกกรวด การปรับปรุงสวนสาธารณะ เดิมที่มือยู่ อันได้แก่ สวนอนุสรณ์สถาน สวนเฉลิมพระเกียรติ สวนประตูไชยณรงค์ในเขตเทศบาลนครราชสีมา สวนหน้าวัดสูงจอหอในเขตเทศบาลจอหอ และสวนหนองคูในเขตเทศบาลตำบลขามทะเลสอรวมทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในที่ว่างของเมืองในรูปแบบของการปลูกต้นไม้ เพื่อให้ร่มเงาตามแนวถนน ได้แก่ ถนนมิตรภาพ ถนนมุขมนตรี ถนนสุรนารายณ์ ถนนสุรนารี ถนนสืบคิริ ที่เป็นถนนสายสำคัญของเมืองที่มีศักยภาพจะนำมาพัฒนาได้ นอกจากนั้นพื้นที่ธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ ได้นำพื้นที่เหล่านั้นมาพัฒนาเป็นพื้นที่พักผ่อน โดยยังคงความเป็นธรรมชาติของพื้นที่เดิมเอาไว้