Abstract:
พื้นที่อนุรักษ์ซนบทและเกษตรกรรมด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่เกษตรชานเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของพื้นที่เมืองชองกรุงเทพมหานคร และทวีความเข้มข้นของการขยายตัวของการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นทุกปี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการชี้ชัดความเหมาะสมของการกำหนดพื้นที่นี้ไว้ในผังเมืองรวมตรวจสอบปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการประกาศควบคุมการให้พื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมของกรุงเทพมหานคร และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของการใช้ที่ดินว่าสอดคล้องวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของการกำหนดพื้นที่นี้ตั้งแต่แรกหรือไม่ และจะมีแนวทางในการกำหนดการใช้ที่ดินอย่างไรในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมฝังตะวันออกชองกรุงเทพมหานครยังคงมีความจำเป็นและมีความสำคัญที่จะกำหนดให้เป็นพื้นที่เพื่อการรับนํ้า หน่วงนํ้าและผันนํ้าเพื่อป้องกันนํ้าจากทุ่งตะวันออกไม่ให้ไหลบ่าเข้าสร้างความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร การวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของการกำหนดพื้นที่สภาพพื้นที่มีความพร้อมที่จะเป็นไปตามบทบาทที่ได้รับแต่สภาพปัจจุบันพื้นที่ได้ลูกรุกจากการใช้ที่ดินในรูปแบบ เมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่ได้รับการอนุญาตจากข้อกำหนดของภาครัฐ ข้อค้นพบที่สำคัญคือ 1) การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในเขตต่อเนื่องระหว่างเขตพักอาศัย , เขตอนุรักษ์ฯ และ เขตเกษตรกรรม ที่เชื่อมต่อกันในเส้นทางคมนาคมหลักเดียวกันจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ การกำหนดเขตควบคุมการใช้ที่ดิน (ผังสี) ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่ดินในประเภทที่อยู่อาศัย 2) รูปแบบการใช้ที่ดิน ที่เป็นอุปสรรคต่อการหน่วงนํ้า , ผันนํ้า และระบายมากที่สุดในเขตพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม คือการใช้ที่ดินเพื่อการพักอาศัย 3) ประสีทธิภาพของที่ดินในการหน่วงนํ้าแปรผันตามพื้นที่แผ่แนวราบของพื้นที่รับนํ้า และประสิทธิภาพการรับนํ้าของพื้นที่มีการลดลงในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น 4) ข้อกำหนดกฎหมายเดิมที่มีข้อบังคับใช้ ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย การที่กฎหมายอนุญาตให้สร้างบ้านเดี่ยวเป็นการเปิดช่องทางให้เกิดการ สร้างอุปสรรคของการกีดขวางทางนํ้ามากขึ้น ปรากฏการณ์การสูญเสียประสิทธิภาพในการรับนํ้าเป็นผลจากการกำหนดกฎหมายและข้อกำหนดที่ไม่ชัดเจน ส่งผลให้เกิดการขัดแย้งของลักษณะพื้นฐานทางกายภาพของพื้นที่และขัดแย้งกับบทบาทหลักด้านการหน่วงนํ้า ผันนํ้าและทิศทางการระบายน้ำลงสู่ทะเลของพื้นที่ทั้งหมด ในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่วางไว้โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความง่ายต่อการเกิดปัญหานํ้าท่วม ควรมีการจัดทำผังเฉพาะขึ้นสำหรับพื้นที่นั้นๆ เพื่อความเหมาะสมของการกำหนดการใช้ที่ดินในอนาคตต่อไป