Abstract:
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะเฉพาะท้องถิ่นชุมชนมอญเกาะเกร็ด นนทบุรี โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบทางกายภาพ ลังคม และเศรษฐกิจของชุมชน เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์-พัฒนา และแนวทางการออกแบบในพื้นที่ชุมชนมอญเกาะเกร็ด ขั้นตอนในการศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจภาคสนาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวช้องร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการออกแบบ และความสัมพันธ์ของโครงสร้างพื้นที่เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวทางการออกแบบที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนมอญเกาะเกร็ด ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นชุมชนมอญเกาะเกร็ด คือ ความพิถีพิถัน และประณีตในการทำกิจต่างๆ ที่สื่อการแสดงออกที่อ่อนช้อย เนิบนาบ นุ่มนวล และค่อยเป็นค่อยไปในโครงสร้างพื้นฐานที่มีการจัดลำดับแสดงขอบเขต และที่หมายตาในการเช้าถึงพื้นที่ต่างๆของชุมชน สื่อถึงความเป็นส่วนตัวในแบบช่างประดิษฐ์ที่เคารพธรรมชาติ มีลักษณะเฉพาะทางกายภาพของชุมชน ในการประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน จึงพบสิ่งปลูกสร้างเฉพาะได้แก่ โรงปั้น เตาเผา ศาลผีใช้ทำพิธีกรรมทางความเชื่อ การประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรมใช้ที่ว่างบริเวณลานศาลผี ลานกลางบ้าน โดยมีระบบสัญจรที่เชื่อมโยงพื้นที่ภายในชุมชนอย่างใกล้ชิด อันเป็นปัจจัยทางกายภาพพื้นฐานก่อให้เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม มีความสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และความผูกพันร่วมกันในชุมชน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวใช้ในการออกแบบ และนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์ และพัฒนาทางกายภาพชุมชนมอญเกาะเกร็ด การนำเสนอแนวทางการออกแบบจากผังของชุมชนมอญเกาะเกร็ดสู่กลุ่มพื้นที่ย่อยต่างๆที่สำคัญของชุมชนตามการใช้ประโยชน์ที่ดินเฉพาะที่ต้องการสื่อถึงรูปแบบทางกายภาพท้องถิ่นชุมชนที่อยู่อาศัย มีการใช้กลุ่มอาคาร และพื้นที่ประกอบกิจกรรมอย่างมีลำดับ แสดงขอบเขตด้วยการเปลี่ยนระดับ และผิวสัมผัสพื้นที่ตามการใช้งานสื่อความหมายลักษณะเฉพาะความเป็นคนมอญ รวมทั้งเสนอระบบสัญจรในชุมชนที่เชื่อมโยงพื้นที่ ต่างๆด้วยเส้นขอบ เส้นทาง และเส้นนํ้าสร้างโครงข่ายการสัญจรในชุมซนให้มิความใกล้ชิด และเป็นส่วนตัวยิ่งขึ้น ดังนั้นแนวทางการอนุรักษ์ และพัฒนาพื้นที่ชุมชนมอญเกาะเกร็ดจึงเสนอแนวคิด การรวมกลุ่มในพื้นที่สำคัญของชุมชนตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน การรวมกลุ่มในกิจกรรมต่างๆ ทั้งการประกอบอาชีพที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น พิธีกรรมความเชื่อที่สืบทอดกันมา การพักผ่อนร่วมกันในชุมชนเพื่อประสานสัมพันธ์ในระดับกลุ่มคนรุ่นต่างๆ จนถึงระดับชุมชน ก่อให้เกิดความผูกพันในท้องถิ่นร่วมกัน และสำนึกรักษาดูแลถิ่นฐานตาม วิถีชีวิตที่เหมาะสมโดยกลุ่มคนในชุมชน และเพื่อคนในชุมชนมอญเกาะเกร็ด