Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาว่า หนังสือพิมพ์มีการนำเสนอเนื้อหาการสำรวจโพลในประเด็นปัญหา จำนวนและรูปแบบใด การนำเสนอมีความสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักการรายงานผลโพล และมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ นอกจากนี้ยังศึกษาถึงปัจจัยการคัดเลือก และการสร้างความน่าเชื่อถือร่วมด้วย งานวิจัยนี้ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างหนังสือพิมพ์ 4 ชื่อฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และหนังลือพิมพ์มติชน โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด ถือเป็นตัวแทนของหนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ ส่วนหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และหนังสือพิมพ์มติชนถือเป็นตัวแทนของหนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า หนังสือพิมพ์มีการนำเสนอการสำรวจโพลในประเด็นที่ไม่ใช่การเลือกตั้งในเรื่องของปัญหาความขัดแย้ง ส่วนประเด็นการเลือกตั้งนั้น ยังมุ่งเน้นการทำนายผลการเลือกตั้งเช่นเดียวกับในอดีต โดยหนังสือพิมพ์ทำการเสนอผลการสำรวจโพลของเอแบคโพลล์ สวนดุสิตโพล กรุงเทพโพล และพระนครโพล เป็นหลัก และใช้รูปแบบข่าวในการนำเสนอเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการนำเสนอเนื้อหาที่มีความสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักการรายงานผลโพลที่ผู้วิจัยกำหนด ไม่มีหนังสือพิมพ์รายวันฉบับใดมีการนำเสนอครบได้ครบถ้วยความสมบูรณ์ จะเน้นการรายงานผลโพลหนังสือพิมพ์รายวันฉบับใดมีการนำเสนอครบได้ครบถ้วนความสมบูรณ์ จะเน้นการรายงานผลโพลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหลัก สำหรับปัจจัยในการคัดเลือก และการรายงานผลการสำรวจโพลนั้น หนังสือพิมพ์มีการคัดเลือกจากเรื่องที่มีการขัดแย้งในสังคม หรือสถานการณ์ที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนขณะนั้น ในส่วนของการสร้างความน่าเชื่อถือ โดยการนำผลการสำรวจโพลมาประกอบในเนื้อหานั้น พบว่าสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ เพราะ ผลการสำรวจโพลมีความแม่นยำสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง