DSpace Repository

การส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านช่องทางการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor จูน เจริญเสียง
dc.contributor.author คมกฤช หาญเจริญศักดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ประเทศไทย
dc.date.accessioned 2021-03-15T08:16:55Z
dc.date.available 2021-03-15T08:16:55Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72845
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้นโยบายจะต้องมีความเข้าใจในกลไกการทำงานของนโยบายการเงิน และเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษากลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านช่องทางการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และทำการเปรียบเทียบผลของการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านช่องทางการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และทำการเปรียบเทียบผลของการส่งผ่านที่มีต่อการดำเนินงานของธนาคารขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยเลือกใช้แบบจำลอง Vector Autoregressive (VAR) ในการทดสอบ จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ผลด้วยการคำนวณ Impulse Response Function และ Variance Decomposition จากแบบจำลองที่สร้างขึ้น ทั้งนี้ตัวแปรที่เลือกใช้ในแบบจำลองประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร ตัวแปรงบดุลธนาคาร (อันประกอบด้วย ปริมาณเงินฝาก ปริมาณสินเชื่อ และปริมารณหลักทรัพย์) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และดัชนีราคาผู้บริโภค และทำการประมาณค่าแบบจำลองโดยข้อมูลรายเดือนในช่วง มีนาคม 2537 ถึง พฤศจิกายน 2544 แต่เนื่องทำการทดสอบแบบจำลอง VAR ด้วยวิธี Chow Test พบว่าโครงสร้างแบบจำลองระหว่างช่วงก่อนและหลังเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนั้นแบบจำลองที่ใช้ในการทดสอบจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาด้วยกัน คือ ช่วงก่อนลอยค่าเงินบาท (มีนาคม 2537 ถึง มิถุนายน 2540) และช่วยหลังลอยค่าเงินบาท (กรกฎาคม 2540 ถึง พฤศจิกายน 2544) ผลการคำนวณ Impulse Response Function แสดงให้เห็นว่า ทั้งช่วงก่อนและหลังเปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ไม่พบว่ามีการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านช่องทางการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรมิได้ส่งผลกระทบต่อตัวแปรงบดุลของธนาคารทั้ง 2 ขนาด ส่วนผลที่ได้จากการคำนวณ Variance Decomposition พบว่า อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรส่งผลต่อความแปรปรวนของปริมาณสินเชื่อของธนาคารขนาดเล็กมากกว่าธนาคารขนาดใหญ่ ดังนั้นถึงแม้ว่าผลที่ได้จาก Impulse Response Function จะไม่พบว่าการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านช่องทางการปล่อยสินเชื่อของธนาคารแต่การทดสอบด้วย Variance Decomposition ชี้ให้เห็นว่า ถ้าการดำเนินนโยบายการเงินสามารถส่งผ่านช่องทางการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ธนาคารขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงินมากกว่าธนาคารขนาดใหญ่ en_US
dc.description.abstractalternative To achieve the optimal monetary policy result, the policy makers must have accurate understanding of monetary transmission mechanism. So, after considering the importance of cormmercial bank loan in Thailand’s economy, this study aims to examine the bank lending charnel of monetary transmission mechanism and to investigate the effect of monetary policy on the operation of monetary transmission mechanism and to investigate the effect of monetary policy on the operation of large and small banks. In the study, the Vector Autoregressive Model (VAR) is employed and the monetary transmission mechanism observed via Impulse Response Function and Variance Decomposition. The VAR models which consist of four endogenous variables are estimated by using monthly data from March 1994 to November 2001. The set of endogenous variables built into the models includes the repurchase market rate, the bank balance sheet vanables (consisting of deposits, loans and securities), the manufacturing production index and the consumer price index. However, the results from Chow Test indicate that there exists a structural break in the model according to a change in exchange rate regime after July 1997. Consequently, the model is separated into two sub-periods, before implementing floating exchange rate regime (March 1994 – June 1997) and after implementing floating exchange rate regime (July 1997 – November 2001). The results from Impulse Response Functions show that the bank balance sheet variables do not respond to a shock in repurchase market rate both before and after the change in exchange rate regime. This explains that we can not find the evidence of bank lending channel in both periods. For the interpretation by Variance Decomposition method, the findings indicate that the explanatory power of the repurchase market rate shock to variations in small banks loan is larger than the explanatory power to variations in large banks loan. Although the Impulse Response Functions do not show the evidence of bank lending channel, the Variance Decomposition explains that the lending behavior of large banks seems to be less sensitive to monetary shocks than the lending behavior of small banks, if the bank lending channel is working. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.243
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ธนาคารและการธนาคาร en_US
dc.subject การกู้ยืม en_US
dc.subject สินเชื่อ en_US
dc.subject ธนาคารพาณิชย์ en_US
dc.subject นโยบายการเงิน en_US
dc.title การส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านช่องทางการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Monetary transmission through bank lending channel in Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor June.N@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2001.243


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record