Abstract:
ตลาดการบินร่วมอาเซียน เป็นหนึ่งในความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. 2015 และปัจจุบัน ได้ยกยอดมาดำเนินการต่อในแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. 2025 เพื่อให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยที่แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. 2025 กาหนดเรื่องการขนส่งทางอากาศว่าจะมุ่งเสริมสร้างตลาดการบินร่วมอาเซียนให้มีศักยภาพในการแข่งขันและความสามารถในการปรับตัวที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่า หากเปรียบเทียบกับตลาดการบินร่วมยุโรป การจัดตั้งตลาดการบินร่วมอาเซียนยังคงเป็นการจัดตั้งเพียงในนามเท่านั้น เนื่องจากอาเซียนยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่สาคัญเกี่ยวกับการขนส่งทางอากาศ ที่จะนำไปสู่การการจัดตั้งตลาดการบินร่วมอาเซียนที่สมบูรณ์ได้ ทั้งเรื่องการแข่งขันทางการค้า หรือการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น หรือในกรณีที่มีการเจรจากฎเกณฑ์บางประการ เช่น การเจรจาเรื่องสิทธิในการให้บริการเดินอากาศระหว่างประเทศแบบประจำ จนเกิดเป็นความตกลงพหุภาคีอาเซียน พร้อมพิธีสารแนบท้ายกำหนดสิทธิในการให้บริการเดินอากาศระหว่างประเทศแบบประจำ จำนวน 3 ฉบับแล้วก็ตาม ก็ยังไม่อาจบังคับบังคับใช้ได้กฎเกณฑ์ได้อย่างเป็นเอกภาพประกอบกับความแตกต่างและหลากหลายของประเทศสมาชิกอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมของประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ภาษาวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งตลาดการบินร่วมอาเซียน งานวิจัยนี้จึงมุ่งทำการศึกษาถึงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดการขนส่งทางอากาศของสหภาพยุโรป โดยเน้นที่กฎเกณฑ์สาคัญในการจัดตั้งตลาดการบินร่วมยุโรป ได้แก่ การเข้าสู่ตลาด อัตราค่าโดยสารและระวาง การแข่งขันทางการค้า การคุ้มครองผู้บริโภค และการระงับข้อพิพาท ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญอันเป็นแนวทางนำไปสู่การจัดตั้งตลาดการบินร่วมอาเซียนได้ นอกจากนี้ ยังศึกษาความตกลงพหุภาคีอาเซียนพร้อมพิธีสารแนบท้าย ซึ่งกำหนดสิทธิในการให้บริการเดินอากาศระหว่างประเทศแบบประจา จานวน 3 ฉบับ และการใช้ความตกลงดังกล่าวในทางปฏิบัติ ซึ่งเน้นกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกับที่ได้ศึกษากฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป โดยศึกษาแนวทางและประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดการบินอาเซียน เพื่อนำไปสู่การบูรณาตลาดการบินร่วมอาเซียนได้ในที่สุด