dc.contributor.advisor |
วรพล มาลสุขุม |
|
dc.contributor.author |
ศศิวิมล ยอดสุทธิ |
|
dc.date.accessioned |
2021-03-31T08:01:33Z |
|
dc.date.available |
2021-03-31T08:01:33Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73028 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการร้องขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งมาตราดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ตน อีกทั้งเพื่อเป็นการผ่อนภาระแก่ผู้เสียหายในการฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งจะต้องเสียเวลาและเสียค่าธรรมเนียมศาล โดยจากการศึกษาแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองปัญหาดังกล่าวพบว่า มีกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนอันทำให้เกิดปัญหาต่อผู้เสียหาย และกรณีที่ศาลปกครองยังมีแนวทางการวินิจฉัยคดีที่ขัดแย้งในเรื่องเดียวกัน ทั้งที่เป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเดียวกัน ซึ่งอาจแบ่งประเด็นปัญหาในการพิจารณาออกได้ดังนี้ 1) ปัญหาเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาการยื่นคำขอชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2) ปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้เสียหายใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนพร้อมกับการฟ้องคดีต่อศาล 3) ปัญหาเกี่ยวกับสถานะของผลการวินิจฉัยคำขอของหน่วยงานของรัฐในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 4) ปัญหาเกี่ยวกับการตีความกฎหมายว่ากรณีใดเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายและกรณีใดเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ทั่วไป 5) ปัญหาเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีต่อศาลหลังจากที่หน่วยงานของรัฐได้มีการวินิจฉัยแล้ว ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขในส่วนบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้การวินิจฉัยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างมีมาตรฐานโดยไม่ให้เกิดปัญหาในการตีความและบังคับใช้กฎหมาย และเพื่อประโยชน์ต่อผู้เสียหายที่จะได้ทราบถึงเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้ศาลปกครองใช้เป็นแนวทางในการวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This thesis studies legal problems on the pleading process to state organs for tort liability conducted in duty by their officials under section 11 of the Act on Liability for Wrongful Act of Official B.E. 2539 (A.D. 1996). The main purpose of the act is to comply the state agencies to remedy damage conducted by their officials and stipulate an injured person’s burden of fling lawsuit. This process wastes much time and cause a plaintiff to pay court fee. From the administrative cases studied, this thesis found that some cases have been ruled from ambiguous provision which causes some legal problems to the injured person. Also there are fluctuated judicial decisions in different cases, despite the fact that they are based on similar facts and rules. Finally, this study proposes an amendment to some provisions of the act, in order to ensure that the decisions do not lead to other problems of interpretation and enforcement. Also, this amendment will be utilized for the injured person, so as that he or she will be better aware of the aforementioned matters. Furthermore, this could be a guideline for the Administrative courts in making coherent decisions for the similar facts in the future. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.889 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ละเมิด |
en_US |
dc.subject |
ความรับผิดของราชการ |
en_US |
dc.subject |
ค่าสินไหมทดแทน |
en_US |
dc.subject |
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 |
|
dc.subject |
Torts |
|
dc.subject |
Government liability |
|
dc.subject |
Indemnity |
|
dc.title |
ปัญหาการร้องขอให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ |
en_US |
dc.title.alternative |
Legal problems on the pleading process to state organs for tort liability conducted by their officials in duty |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
นิติศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Voraphol.M@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2018.889 |
|