Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาสภาพปัญหาการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษา ศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาและศึกษามาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญประกอบด้วยนักเรียนอาชีวศึกษาใน 5 จังหวัด จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเจ้าหน้าที่ภาคประชาสังคม จำนวน 27 คน ทำการการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพปัญหาการใช้ความรุนแรงที่ในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า ระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงคือได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส พิการและเสียชีวิต ความถี่ในการเกิดความรุนแรงในเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นตามลำดับเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม นอกจากนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นในช่วงวันจันทร์ถึงวันศุกร์ซึ่งเป็นวันปกติที่นักเรียนอาชีวศึกษาใช้ความรุนแรง เวลาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในก่อนเรียนในช่วงเช้าและหลังเลิกเรียน และเกิดขึ้น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ มากสุด 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนลักษณะของอาวุธที่ใช้ที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงของนักเรียนอาชีวศึกษา คือ ไม้ มีด ปืน และอื่นๆ ที่เป็นอาวุธที่สามารถใช้ความรุนแรงได้ ซึ่งจากสภาพปัญหาการที่กล่าวมาทั้งหมดจึงเกิดผลกระทบต่อนักเรียนอาชีวศึกษา สถาบัน/โรงเรียน ครอบครัว ชุมชนและสังคม 2. สาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีสาเหตุสำคัญประกอบด้วย สภาพครอบครัว เช่น ครอบครัวไม่มีเวลาดูแล พ่อแม่แยกทางกัน รวมถึงบุคคลอื่นในครอบครัวมีผลต่อการใช้ความรุนแรง รุ่นพี่และเพื่อน ได้รับการปลูกฝังจากกลุ่มเพื่อนและรุ่นพี่ ช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ผิด สภาพสังคมในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สภาพสังคมในวิทยาลัยเป็นสิ่งที่หล่อหลอมพฤติกรรมของเด็กนักเรียน รุ่นพี่และรุ่นน้องที่ถ่ายทอดพฤติกรรมที่ผิดต่อสังคมจากรุ่นสู่รุ่น 2.4 สื่อและเทคโนโลยีด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจึงส่งผลให้รุ่นพี่สามารถให้ข้อมูลและถ่ายทอดกันไปรุ่นสู่รุ่นน้องได้ สถาบันการศึกษามีความขัดแย้งกันซึ่งกันและกันมาอย่างยาวนาน ความกดดันในสถานศึกษาและ กฎหมายและระเบียบปฏิบัติกฎหมายมีการกำหนดโทษเบาจนเกินไป 3. มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่สำคัญประกอบด้วย 3.1 มาตรการป้องกันด้านครอบครัว 3.2 มาตรการป้องกันด้านเพื่อนและรุ่นพี่ 3.3 มาตรการป้องกันด้านสภาพสังคมในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 3.4 มาตรการป้องกันด้านความกดดัน 3.5 มาตรการป้องกันด้านกฎหมาย 3.6 มาตรการป้องกันด้านสถาบันการศึกษา 3.7 มาตรการป้องกันด้านสื่อและเทคโนโลยี 3.8 มาตรการป้องกันด้านศาสนา