DSpace Repository

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล : กรณีศึกษาการทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดา ธนิตกุล
dc.contributor.author วรนุช ถิระวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-04-02T13:53:39Z
dc.date.available 2021-04-02T13:53:39Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73078
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาแนวคิดเบื้องต้นในการจัดเก็บภาษีเงินได้ในเศรษฐกิจดิจิทัล เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ปริมาณธุรกิจดิจิทัลและการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลของผู้ใช้งานหรือลูกค้ามีเพิ่มมากขึ้นทุกวันซึ่งก่อให้เกิดรายได้จำนวนมาก ทว่าประเทศไทยไม่สามารถจัดเก็บภาษีเงินได้กับธุรกิจในเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการปรากฏตัวทางกายภาพของนิติบุคคลในประมวลรัษฎากร จึงทำให้ประเทศไทยขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีในส่วนดังกล่าว ดังนั้น การพิจารณาแนวคิดในการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นยิ่ง การแก้ไขปัญหานี้สำหรับธุรกิจดิจิทัลนั้น ประเทศไทยต้องมีการปรับปรุงจุดเกี่ยวโยงและหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยใช้วิธีการตามข้อเสนอล่าสุดคือข้อเสนอแนวทางร่วมกันซึ่งเกิดจากการบูรณาการข้อเสนอขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา แนวทางร่วมกันซึ่งกำหนดจุดเกี่ยวโยงตามข้อเสนอนี้จะทำให้ประเทศไทยมีเขตอำนาจในการจัดเก็บภาษีจากรายได้ส่วนที่เคยจัดเก็บไม่ได้ซึ่งมีจุดเกี่ยวโยงกับประเทศไทย การกำหนดมาตรการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยจำต้องพิจารณาทั้งการใช้มาตรการระยะสั้นและระยะยาว โดยจากการศึกษาแนวคิดของต่างประเทศและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกำหนดมาตรการดังกล่าวนั้น มาตรการเพื่อจัดเก็บภาษีระยะสั้นไม่เหมาะสมกับประเทศไทยเพราะอาจก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบโดยเฉพาะประเด็นการถูกตอบโต้ทางการค้าระหว่างประเทศจากประเทศคู่ค้า ดังนั้นประเทศไทยควรรอใช้มาตรการตามข้อเสนอแนวทางร่วมกันซึ่งเป็นมาตรการระยะยาว โดยอาศัยความร่วมมือที่ทำให้เกิดเป็นข้อตกลงระดับพหุภาคีหรือเรียกกันว่าเครื่องมือระดับพหุภาคี
dc.description.abstractalternative This thesis studies different preliminary approaches to income taxation in the digital economy. Since digital technologies have developed rapidly, digital businesses and platforms, either operated by users or used by customers, have also expanded. These digital activities generate a significant amount of income. However, Thailand cannot efficiently administer such income tax under the physical presence principle of a juristic person in the Thai Revenue Code. To solve this taxation problem of digital businesses, Thailand must improve rules and nexus relating to tax administration in accordance with the latest proposal elaborated by the Organization for Economic Cooperation and Development – OECD on Unified Approach. By this Approach to a new way of determining nexus, Thailand shall be entitled to exercise taxation jurisdiction for revenues having nexus with Thailand that is not taxable previously. To impose tax administration measures in Thailand, the nature of such measures, either interim or long-term measures, should be taken into consideration. From legal foreign experiences and impacts, the interim measure is not recommendable because of adverse effects, especially from international trade countermeasures by trade partners. Consequently, Thailand should undertake various measures underlined by the OECD Unified Approach, especially long-term measures adopted in the form of a Multilateral Instrument.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.845
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Business
dc.title แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล : กรณีศึกษาการทำธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
dc.title.alternative The preliminary approaches to income taxation in the digital economy : a case study on foreign platforms not carrying on businesses in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword ภาษีเงินได้
dc.subject.keyword เศรษฐกิจดิจิทัล
dc.subject.keyword แพลตฟอร์มดิจิทัล
dc.subject.keyword ภาษี
dc.subject.keyword income tax
dc.subject.keyword digital economy
dc.subject.keyword digital platforms
dc.subject.keyword taxation
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.845


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record