Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. ศึกษาผลกระทบจองการขยายตัวของกลุ่มประชาคมยุโรปต่อสภาวะทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของไทยและประเทศอาเซียนอื่น ๆ 2. ศึกษาผลกระทบของนโยบายดังกล่าวที่มีต่อการตัดสินใจในระดับผู้ประกอบการ ในสาขาเกษตรนั้น ถือได้ว่ากลุ่มประชาคมได้เข้าใกล้แนวคิดการเป็นตลาดร่วมดังที่ได้กำหนดไว้ในสนธิสัญญากรุงโรมได้มากที่สุด การขยายตัวของกลุ่มประชาคมนั้นย่อมหมายถึงการขยายขอบเขตของตลาดออกไป การศึกษานี้พยายามที่จะวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงต่อการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรกรรมระหว่างกลุ่มประชาคมอาเซียน การวิเคราะห์เริ่มต้นด้วยการศึกษาการพัฒนาของนโยบายที่สำคัญของกลุ่มประชาคม จากนั้นได้วิเคราะห์โครงสร้างการค้า ความชำนาญเฉพาะอย่าง และการแข่งขันระหว่างประเทศอาเซียน ตามด้วยศักยภาพของการขยายตัวทางการค้า และผลของการส่งออก สุดท้ายได้วิเคราะห์ความต้องการและโอกาสในการปรับตัวในระดับผู้ประกอบการ จากการวิเคราะห์ในระดับมหภาคมีข้อสรุปที่น่าสังเกต 4 ประการ 1. ประเทศสมาชิกของอาเซียนมีโครงสร้างการส่งออกแตกต่างกันในการค้ากับกลุ่มประชาคม 2. การค้าสินค้าเกษตรระหว่างอาเซียนกับกลุ่มประชา มีลักษณะการค้าในสินค้าประเภทเดียวกันน้อยกว่าการค้ากับโลก 3. โครงสร้างการส่งออกของอาเซียนไปยังกลุ่มประชาคมต่างไปจากโครงสร้างกานำเข้าของกลุ่มประชาคมจากตลาดโลก 4. ศักยภาพการขยายการค้าของอาเซียนเกิดขึ้นทางด้านการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ การวิเคราะห์ผลกระทบต่อการตัดสินใจในระดับผู้ประกอบการนั้นให้ข้อสรุปว่า กลยุทธการลงทุนร่วมกับต่างประเทศจะเป็นกลยุทธที่สำคัญที่สุดในการขยายการค้าในตลาดกลุ่มประชาคม