DSpace Repository

การจัดบริการผู้ป่วยนอกกับผลลัพธ์สุขภาพของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ โดยใช้กรณีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเป็นตัวตามรอยระบบ

Show simple item record

dc.contributor.advisor จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
dc.contributor.author ดาวรุ่ง คำวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-04-22T06:24:38Z
dc.date.available 2021-04-22T06:24:38Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73165
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract การวิเคราะห์ฐานข้อมูลทุติยภูมิในระดับเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างการจัดบริการผู้ป่วยนอกกับผลลัพธ์สุขภาพ โดยใช้การนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของเบาหวานเป็นตัววัดผลลัพธ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งหมด 838 อำเภอ ในปีงบประมาณ 2557-2558 ข้อมูลโครงสร้างของการจัดบริการและกำลังคนด้านสุขภาพได้รับจากกระทรวงสาธารณสุข ส่วนข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกและข้อมูลการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการดูแลผู้ป่วยและการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของเบาหวาน โดยทำการศึกษาเฉพาะผู้ป่วยภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) เพื่อศึกษาเส้นทางอิทธิพลของโครงสร้างการจัดบริการที่มีต่อผลลัพธ์สุขภาพผ่านกระบวนการดูแลผู้ป่วย ผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างการจัดบริการด้านหน่วยบริการและด้านกำลังคนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของเบาหวานโดยส่งผ่านอิทธิพลทางกระบวนการดูแลผู้ป่วย ในด้านหน่วยบริการพบว่า การนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของเบาหวานที่ลดลงสัมพันธ์กับจำนวนหน่วยบริการต่อประชากรและการกระจุกตัวของการใช้บริการผู้ป่วยนอกที่เพิ่มขึ้น และการมีจำนวนเตียงที่น้อยกว่า สำหรับด้านกำลังคนพบว่า การลดลงของการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของเบาหวานมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนพยาบาลต่อประชากร ขณะที่การเพิ่มขึ้นของการนอนโรงพยาบาลดังกล่าวสัมพันธ์กับอัตราส่วนเภสัชกรและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่อประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว จากการศึกษานี้ยืนยันได้ว่าปัจจัยเชิงโครงสร้างของการจัดบริการสัมพันธ์กับผลลัพธ์สุขภาพโดยส่งอิทธิผลผ่านทางกระบวนการดูแลผู้ป่วย ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวสามารถปรับโครงสร้างได้ในระดับเครือข่ายสุขภาพอำเภอเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีผลลัพธ์สุขภาพที่ดีขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative This secondary data analysis, compiled at the district level, aimed to investigate the association between organizational structures and health outcomes, by using diabetes short-term complications hospitalizations. Data gathered from healthcare facilities of 838 districts by the Office of the Permanent Secretary (OPS), the Ministry of Public Health (MOPH), during the fiscal year of 2014-2015, was being used for the analysis. Organizational structure and health human resource data were obtained from the MOPH. The outpatient service and administrative claim data from the National Health Security Office (NHSO) were used to analyze service performance for outpatients and hospitalizations for short-term complications under the Universal Coverage Scheme (UCS). Path analysis was used to estimate the influence of organizational structure on health outcomes via the process of care. The findings revealed that organizational structure, including health human resource, was significantly correlated with diabetes short-term complications hospitalizations via care processes. A lower short-term complications hospitalization was found to be related to an increased density of healthcare facilities, outpatient utilization concentration, and decreased bed supply. Hospitalizations for short-term complications decreased with an increase in nurse density; however, it was observed that hospitalizations increased with an increase in the density of pharmacists and other health professionals. Furthermore, no significant association could be established for physician density. This study confirmed that the relationship between organizational factors and health outcomes is a result of the factors influencing through the care processes. In order to improve population health, these organizational factors can be altered through reorganization at the district level. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.697
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การบริบาลผู้ป่วยนอก
dc.subject ผู้ป่วยเบาหวาน
dc.subject Ambulatory medical care
dc.subject Diabetics
dc.title การจัดบริการผู้ป่วยนอกกับผลลัพธ์สุขภาพของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ โดยใช้กรณีการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเป็นตัวตามรอยระบบ en_US
dc.title.alternative Organization of Ambulatory Care Services and Health Outcomes of District Health System using Diabetes Care as a System Tracer en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.697


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record