Abstract:
ประเทศไทยใช้การขนส่งสินค้าทางชายฝั่งมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6-8 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาและอุปสรรคของการขนส่งสินค้าชายฝั่ง แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ 1) ปัญหาที่เกิดจากแผนพัฒนาและนโยบายของรัฐที่มีต่อการขนส่งชายฝั่งในแผนพัฒนาฯ ระดับต่าง ๆ ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้ง 11 ฉบับ (ปี พ.ศ. 2504 – พ.ศ.2559) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย และแผนพัฒนาในระดับกระทรวง กรม กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า ทั้งการขนส่งทางน้ำและทางราง แต่ในแผนปฏิบัติงานและงบประมาณการขนส่งทางน้ำมีความชัดเจนน้อยกว่าทางราง งบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้ในการขุดลอกร่องน้ำ และการศึกษาเพื่อก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ คือ ท่าเรือชายฝั่งส่วนใหญ่มีทำเลที่ตั้งของท่าเรือไม่เหมาะสม มีร่องน้ำเดินเรือความลึกประมาณ 4-5 เมตร ทำให้เรือที่เข้าเทียบท่าเรือมีขนาดไม่เกิน 28 เมตร เรือขนาดใหญ่ต้องรอช่วงน้ำขึ้นสูงสุด ทำให้มีการจราจรคับคั่ง เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การใช้เรือขนาดเล็กขนถ่ายต่อไปยังเรือขนาดใหญ่ทำให้เกิดการขนส่งสองต่อ ท่าเรือขาดพื้นที่แนวหลังสินค้านาเข้า – ส่งออก ขาดนิคมอุตสาหกรรมรองรับ และขาดการคมนาคมที่เชื่อมต่อท่าเรือ 2) ปัญหาด้านกฎระเบียบ เช่น มีกฎระเบียบควบคุม ทั้งท่าเรือชายฝั่ง เรือชายฝั่ง และสินค้าชายฝั่ง 3) ปัญหาอื่น ๆ ได้แก่ การบริหารและจัดการท่าเรือชายฝั่งของกรมธนารักษ์ ขาดมาตรการส่งเสริมการขนส่งสินค้าชายฝั่ง ขาดคนประจำเรือชายฝั่ง ขาดความชำนาญด้านการตลาด เป็นต้น การแก้ไขปัญหาระบบการขนส่งชายฝั่งทั้งระบบ แผนพัฒนาการขนส่งสินค้าชายฝั่งที่ชัดเจนและต่อเนื่อง กำหนดงบประมาณเพื่อใช้ในการพัฒนาอย่างเหมาะสมกับแผนปฏิบัติการ และมีการประเมินผลแผนที่ไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย การจัดตั้งคณะกรรมการท่าเรือแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการดาเนินงานท่าเรือของประเทศ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรได้มีการร่วมมือกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดขั้นตอนของการขนส่งสินค้าชายฝั่ง และควรมีการกำหนดแนวทางส่งเสริมและมาตรการสนับสนุนเพื่อให้มีการใช้รูปแบบการขนส่งสินค้าชายฝั่งมากขึ้น เร่งการเปิดใช้ท่าเรือชายฝั่งสาธารณะ ให้ทันกับปริมาณการขนส่งสินค้าทางชายฝั่งที่จะเพิ่มขึ้น เพื่อทำให้การขนส่งชายฝั่งมีความเข้มแข็งสามารถแข่งขันกับการขนส่งรูปแบบอื่นได้