dc.contributor.advisor |
ชวลิต นิตยะ |
|
dc.contributor.advisor |
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ |
|
dc.contributor.author |
ราชัย บรรพพงศ์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-05-12T08:32:54Z |
|
dc.date.available |
2021-05-12T08:32:54Z |
|
dc.date.issued |
2543 |
|
dc.identifier.isbn |
9741302525 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73344 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
en_US |
dc.description.abstract |
การกำหนดขนาดและรูปแบบ เพื่อใช้ในการออกแบบที่อยู่อาศัยใหม่ให้กับชาวชุมชนศิริอำมาตย์ จำเป็นต้องมีการศึกษาหาขนาดที่เล็กที่สุดของส่วนต่างๆ ในที่อยู่อาศัยเดิมที่ชาวชุมชนสามารถอยู่อาศัยได้จริง รวมทั้งต้องมีการศึกษา การดำเนินชีวิตและรูปแบบการใช้ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดขนาด และรูปแบนของที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดทางต้านเศรษฐกิจของคนในชุมชน โดยอาศัยขบวนการในการมีส่วนร่วมของชาวชุมชน เพื่อกำหนดรูปแบบและขนาดทางกายภาพที่เหมาะสม จากการสำรวจพบว่าจำนวนหลังคาเรือนที่อยู่ในชุมชนศิริอำมาตย์มีทั้งหมด 34 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนขนาดเล็กโดยมีจำนวนสมาชิก เฉลี่ยอยู่ที่ 3.13 คนต่อครัวเรือน และมากกว่าครึ่งของชุมชนได้มีการนำพื้นที่ส่วนที่เหลือของตนมาให้ผู้อื่นเช่า ซึ่งบางครัวเรือนอาศัยอยู่ในชุมชนนีมามากกว่า 7 ทศวรรษและไม่ต้องการที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งงาน โดยรูปแบบในการใช้ที่อยู่อาศัยจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอาชีพและการรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ที่อาศัยในที่อยู่อาศัยนั้นๆ ซึ่งบางครัวเรือนใช้พื้นที่ในที่อยู่อาศัยเพื่อ ก่อให้เกิดรายได้โดยใช้เป็นที่เตรียมสินค้าเพื่อนำไปจำหน่าย เช่น อาหาร , หระเครื่อง , ของเก่า และเป็นรานขายก๋วยเตี๋ยว บางครัวเรือนใช้ที่อยู่อาศัยเพื่อการอยู่อาศัยและพักก่อนเพียงอย่างเคียว รูปแบบในการจัดพื้นที่อยู่อาศัยมีลักษณะเป็นผังเปิดโล่ง (open plan) ซึ่งสามารถดัดแปลงพื้นที่เดียวกันนี้ให้เป็นการประกอบกิจกรรมอเนกประสงค์อื่นๆ ในเวลาที่ต่างกันไต้ ส่วนใหญ่อยู่อาศัยที่นี่มานานมากกว่า 10 ปี ซึ่งก็เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ไม่ได้มีการต่อเติมทั้งที่มีความต้องการที่จะต่อเติมให้มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้นก็ตาม มีแต่เพียงการซ่อมแซมพอที่จะให้สามารถใช้งานต่อไปได้เท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ในการที่จะขยายไม่เพียง พอรวมทั้งปัญหาความไม่มั่นคงในการครอบครองที่ดิน จากการวิเคราะห์พบว่ามีเพียง 13 ครัวเรือนเท่านั้นที่มีความสามารถในการจ่ายเพื่อที่อยู่อาศัยใหม่ตามแบบที่ทางกรุงเทพมหานครเป็นผู้ออกแบบให้ ดังนั้นจึงเสนอให้มีการจัดทำที่อยู่อาศัยที่เป็นหน่วยเริ่มต้นหลักที่มีขนาดเล็กที่สุด (Core Unit) และสามารถต่อเติมได้ในภายหลัง ซึ่งมีราคาถูกกว่าที่ทางกรุงเทพมหานครออกแบบมาให้และมีความสอคคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนศิริอำมาตย์ ในการกำหนดขนาดของส่วนต่างๆ เพื่อใช้ในการออกแบบได้นำมาจากการศึกษาหาขนาดพื้นที่ที่เล็กที่สุดของส่วนต่างๆ ในที่อยู่อาศัยเดิมซึ่งคนในชุมชนสามารถอยู่ได้ และได้พบว่าจำนวนเมือที่อยู่อาศัยเริ่มต้นที่เล็กที่สุดคือ 11.52 ตรม. โดยมีส่วนประกอบหลักของหน่วยเริ่มต้น ประกอบด้วย ส่วนนอน, ส่วนทานอาหาร,ส่วนสันทนาการ, ส่วนเก็บของ และ ส่วนที่เป็นห้องนำและชักล้าง |
|
dc.description.abstractalternative |
Dimension and physical provision in new residential design for Siri-ummard community has derived from minimal size study from the existing housing of the community , including Lie analysis of their living patterns and limited economic condition. People’s participation is also a major role in this appropriate design method. It was found from a study that Siri-ummard community consisted of 34 small-size families with an average household of 3.13. members Almost one-half of the community rent their extra space to other poor persons. Some families have been living in the community for as long as seven decades and do not want to leave because it is close to their work place. It was found that their living patterns are different depending on their professions and lifestyles. Some households use their spaces to generate income : such as preparing food for sale or selling, Buddha amulets, antiques or noodles. Others utilize their spaces just for sleeping at night. Hence, a typical floor plan is generally open and flexible enough to suit various types of activities occurring at different times. Most inhabitants have lived in the community for over ten years and never want to improve housing conditions due to the uncertainty of land tenure. Furthermore, they have inadequate income. Only 13 families could afford new housing proposed by the Bangkok Municipal Authority. As a result, it is suggested the government to provide residents with a core house unit of minimal size, which is cheap, can accommodate their current needs and can later be exterded after an increase in income. This core house design cost only 10% of the one provided by the Bangkck Municipal Authority design.l 1.52 square meters was found to be the minimum area possible for a living core unit. This initial core housing would provide sleeping , dining , living areas , storage and hygiene area. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.59 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
en_US |
dc.subject |
การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
en_US |
dc.subject |
Housing -- Thailand -- Bangkok |
en_US |
dc.subject |
Land use, Urban -- Thailand -- Bangkok |
en_US |
dc.title |
การกำหนดขนาดเริ่มต้นที่เล็กที่สุดของที่อยู่อาศัยโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนศิริอำมาตย์ เขตพระนคร |
en_US |
dc.title.alternative |
The determination of core unit size by people participation in Siri-Ummard Community, Pranakorn District |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เคหการ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Chawalit.N@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Kundoldibya.P@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2000.59 |
|