DSpace Repository

พัฒนาการแนวคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบในเขตพุทธาวาส : กรณีศึกษา ผลงานออกแบบของสถาปนิกยุคบุกเบิก (พ.ศ. 2509-2553)

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ
dc.contributor.author พิมพ์พร ไชยพร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-05-14T06:51:24Z
dc.date.available 2021-05-14T06:51:24Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73389
dc.description วิทยานิพนธ์ (สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาพัฒนาการแนวคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบในเขตพุทธาวาส ได้แก่ เจดีย์ อุโบสถ วิหาร และมณฑป ที่ออกแบบโดยสถาปนิกไทยยุคบุกเบิกซึ่งมีผลงานในช่วงพ.ศ. 2509-2553 ที่คัดเลือกมาจำนวน 10 คน เพื่อให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมวัดจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และสถาปัตยกรรม โดยมีสมมติฐานว่าจุดเปลี่ยนที่มีบทบาทสำคัญคือการก่อตั้งหลักสูตรการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมแบบสากลขึ้น การศึกษาวิจัยใช้การเปรียบเทียบระหว่างสถาปัตยกรรมวัดที่ออกแบบโดยสถาปนิกไทยยุคบุกเบิกกับสถาปัตยกรรมวัดในอดีตซึ่งทั้งหมดอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยอิงทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมแบบสากล กรณีศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจ และการสัมภาษณ์แนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดจำนวน 53 หลัง จากวัด 42 แห่งทุกภูมิภาค และจำแนกกลุ่มลักษณะทางกายภาพตามประเด็นทางสถาปัตยกรรม ดังนี้ 1. ผังบริเวณวัดและผังบริเวณในเขตพุทธาวาส 2. รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และการประดับตกแต่งและสัญลักษณ์ 3. การใช้สอย และที่ว่างภายใน และ 4. โครงสร้าง และวัสดุก่อสร้าง และนำมาวิเคราะห์เพื่อศึกษาปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาสรุปว่าสถาปัตยกรรมวัดที่ทาการวิจัยมีความหลากหลายของรูปแบบและการใช้สอยและมีลักษณะเฉพาะอยู่เป็นจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมวัดไม่ได้เกิดขึ้นและจบลงตามลำดับเวลา แต่เกิดขึ้นพร้อมกันและขนานกันไปตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นจึงไม่สามารถจำแนกเป็นกลุ่มรูปแบบตามลำดับช่วงเวลาอย่างพัฒนาการประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมทั่วไปได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าสถาปนิกยุคบุกเบิกได้พัฒนาแนวคิดในการออกแบบจากการใช้ศาสตร์สถาปัตยกรรมแบบสากลมาทำความเข้าใจองค์ความรู้เดิม ทำให้มีมุมมองว่าวัดเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเหมือนกับสถาปัตยกรรมประเภทอื่น ๆ และสร้างสรรค์งานออกแบบที่มีรูปแบบตั้งแต่ประเพณีนิยมไปจนถึงรูปแบบใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงพร้อมกับการใช้สอยและที่ว่างภายใน รวมถึงการทดลองใช้โครงสร้างและวัสดุก่อสร้างใหม่ ซึ่งผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมวัดมีความเป็นปัจเจกตามแนวคิดและประสบการณ์ของสถาปนิก และยังคงพัฒนาตามแนวทางของแต่ละคนต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative The main purpose of this thesis is to research buddhavas area such as stupa, ubosatha, vihara and mandapa designed by 10 Thai pioneer architects during 1966-2010 to study the development of concept and style of architecture and related elements and to understand architectural transformation that were influenced by political factor, economic factor, social factor, religious factor and architectural factor. The hypothesis is assuming that the turning point is to be founded in architecture schools. The research method is to compare temple architectures designed by Thai pioneer architects with temple architecture in the past during Rattanakosin Period through the theory of traditional Thai architecture and the theory of international architecture. The research data are collected from documents, site survey, and interviews with the Thai architects. Case studies consist of 53 temple architectures from 42 temples around Thailand and categorized by using 4 architectural points as follows: temple layout and buddhavas area layout; architectural style and ornaments and symbol; function and interior space and structure and material. Then the data is analysed to determine what influences transformation of the temple architectures. The study concluded that temple architectures in the researched period are diverse in both style and functional aspects and the architectures exhibit their distinct characteristics. The transformation of Thai temple architectures did not occur and end in periodical order but rather simultaneously developed and changed in parallel amongst each other over time and still continued to do so until present days. Therefore it is unable to periodically categorize the case studies into groups. It also concluded that the pioneer architects have been developing their design concepts from using the theory of international architecture to understand the theory of traditional Thai architecture and consider temple architecture as another type of architecture as illustrated by the variety of styles from traditional to contemporary style which keeps changing and co-exists along with its function and interior space, and with architect’s selection of modern structure and material. In the end, individuality, knowledge, and experience of each pioneer architect reveal to play a major role to transform and shape the Thai temple architectures in the past and will continue to advance in their own personal directions in the future. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1399
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การออกแบบสถาปัตยกรรม
dc.subject สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา
dc.subject Architectural design
dc.subject Buddhist architecture
dc.title พัฒนาการแนวคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบในเขตพุทธาวาส : กรณีศึกษา ผลงานออกแบบของสถาปนิกยุคบุกเบิก (พ.ศ. 2509-2553) en_US
dc.title.alternative The development of concept and style of architecture and related elements in Buddhavas area : the case studies designed by Pioneer Architects (1966 A.D. -2010 A.D.) en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline สถาปัตยกรรม en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pinraj.K@Chula.ac.th,pinraj.k@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1399


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record