Abstract:
ที่มาและเหตุผล : ยามัยโคฟีโนเลตโมฟีติล (MMF) เป็นยากดภูมิคุ้มกันซึ่งเปลี่ยนไปเป็น mycophenolic acid (MPA) อย่างรวดเร็วหลังรับประทาน ขนาดยาที่ใช้ในผู้ป่วยต่างประเทศประมาณ 2 กรัมต่อวัน แต่เนื่องจากในผู้ป่วยชาวไทยไม่สามารถทนต่อฤทธิ์ข้างเคียงของยาโดยเฉพาะคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วงในขนาดดังกล่าว ทำให้ส่วนใหญ่ทานยาที่ขนาด 1-1.5 กรัมต่อวัน นอกจากนี้ยังไม่มีการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ในประเทศไทยมาก่อน วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยามัยโคฟีโนเลตโมฟีติลในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตชาวไทย 2.เปรียบเทียบค่าเภสัชจลนศาสตร์ของยามัยโคฟีโนเลตโมฟีติลในขนาด 1 กรัมต่อวันในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตชาวไทยกับค่าเภสัชจลนศาสตร์ของยามัยโคฟีโนเลตโมฟีติลในขนาด 2 กรัมต่อวันในผู้ป่วยปลูกไตทั้งสิ้น 19 ราย ได้ศึกษาเภสัชจลนศาสตร์โดยการเก็บตัวอย่างเลือดก่อนและหลังทานยายามัยโคฟีโนเลตโมฟีติล ขนาด 500 มิลลิกรัม แล้วนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธี high performance liquid chromatography พื้นที่ภายใต้เส้นระดับยาที่จุดเวลาต่าง ๆ ภายหลังการให้ยาในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง (AUC0-12 h) อาศัยการคิดพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู ผลการศึกษา : พบว่า MPA พื้นที่ภายใต้เส้นระดับยาที่จุดเวลาต่าง ๆ ภายหลังการให้ยาในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง (AUC0-12 h) มีค่าเฉลี่ย 37.46 ± 3.46 ไมโครกรัมชั่วโมงต่อมิลลิลิตร ระดับ MPA สูงสุดเฉลี่ย 5.7 ± 1.18 ไมโครกรัมชั่วโมงต่อมิลลิลิตร ระยะเวลาที่ระดับ MPA สูงสุดเฉลี่ย 1.32 ± 0.82 ชั่วงโมงระดับ MPA ต่ำสุดเฉลี่ย 2.7 ± 0.29 ไมโครกรัม ชั่วโมงต่อมิลลิลิตร MPA ในเลือดที่เวลา 8 ชั่วโมงภายหลังการทานยามีความสัมพันธ์ทางสถิติสูงสุดกับค่า AUC0-12 h(R2 = 0.74, p = 0.00) สรุปผลการวิจัย 1.ระดับพลาสมา MPA ของผู้ป่วยที่ได้รับยา MMF ขนาด 1 กรัมต่อวัน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับขนาด 2 กรัมต่อวันในข้อมูลต่างประเทศ (p = 0.01) แต่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (30-60 ไมโครกรัม ชั่วโมง/มิลลิเมตร 2.Tmax และ ความเข้มข้นต่ำสุดไม่แตกต่างจากการศึกษาอื่น 3.ความเข้มข้น ณ จุดเวลาที่ 8 ชั่วโมง เป็นดัชนีที่ดีที่สุดในการทำนาย ค่าพื้นที่ใต้กราฟ ความเข้มข้นเวลา 0.12 ชั่วโมง (AUC0-12)