Abstract:
นิคมอุตสาหกรรม คือเขตที่ดินซึ่งจัดไว้สำหรับให้โรงงานอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน แม้ จะมีกฎหมายด้วยการขออนุญาตจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม แต่ประเด็นส่วนใหญ่มักกล่าวถึงมาตรฐาน ด้านวิศวกรรมเป็นหลัก และขาดการคำนึงถึงประเด็นทางภูมิสถาปัตยกรรม งานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการวางผังนิคมอุตสาหกรรมภายใต้ข้อพิจารณาทางภูมิ สถาปัตยกรรม ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก เพราะเป็นแหล่งที่ตั้งของนิคม อุตสาหกรรมจำนวนมาก งานวิจัยนี้ดำเนินการวิเคราะห์ลักษณะธรณีสัณฐานในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและภาค ตะวันออกของประเทศไทย และข้อมูลเกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรม เพื่อหาความต้องการและ ข้อจำกัดของพื้นที่ นำมาสรุปเป็นปัจจัยในการวางผังนิคมอุตสาหกรรม จากนั้นลงพื้นที่เก็บข้อมูล นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร และนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งเป็นตัวอย่างนิคมอุตสาหกรรมใน พื้นที่ภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก ด้วยวิธีการสำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำปัจจัยมาวิเคราะห์หาศักยภาพและปัญหา และเสนอแนวทางแก้ไขต่อไป ผลการวิจัยพบว่า มีปัจจัยที่ใช้ในการวางผัง 2 ด้าน ได้แก่ 1.การเลือกที่ตั้ง พิจารณาจาก ปัจจัยทางนิเวศวิทยา ทรัพยากร เศรษฐกิจ และชุมชน 2.การวางผังบริเวณ พิจารณาจากปัจจัยทาง ธรรมชาติ ปัจจัยที่มนุษย์สร้างขึ้น และปัจจัยทางสุนทรียภาพ ซึ่งจากการวิเคราะห์กรณีศึกษาทั้ง สองแห่ง สรุปได้ว่า มีการเลือกที่ตั้งที่เน้นด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรเป็นหลัก ส่วนการวางผัง บริเวณ นิคมอุตสาหกรรมทั้งสองแห่งสามารถวางพื้นที่ใช้สอยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ แต่ ละเลยการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และการออกแบบเพื่อส่งเสริมมุมมองในส่วน ต้อนรับ เป็นต้น