dc.contributor.advisor |
อมราวรรณ อินทศิริ |
|
dc.contributor.author |
ภูริต สงวนศักดิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-05-21T02:58:23Z |
|
dc.date.available |
2021-05-21T02:58:23Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73458 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 |
en_US |
dc.description.abstract |
สารลดแรงตึงผิวชีวภาพชนิดลิโพเพปไทด์ที่ผลิตจากแบคทีเรียตระกูล Bacillus sp. ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความสามารถในการลดแรงตึงผิวสูงและต้านทานต่อเชื้อจุลินทรีย์ทำให้คงประสิทธิภาพไว้ได้นาน อย่างไรก็ตาม วิธีการสกัดสารลดแรงตึงผิวชีวภาพด้วยตัวทำละลายที่ใช้ในปัจจุบันยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง อีกทั้งยังไม่สามารถสกัดได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ วิธีการใหม่ในการสกัดสารลดแรงตึงผิวชีวภาพด้วยกระบวนการดูดซับและคายออกโดยการใช้ซิลิกาจึงได้ถูกนำมาศึกษา โดยการศึกษานี้เกี่ยวกับการสังเคราะห์ซิลิกา โดยใช้สารตั้งต้น 2 ชนิด ได้แก่ สารตั้งต้นเดียว (i.e. tetraethoxysilane, TEOS) หรือสารตั้งต้นผสม (i.e. TEOS และ (3-aminopropyl)trietoxysilane, APTES) ใช้สารลดแรงตึงผิว 2 ชนิด ได้แก่ Cetyltrimethyl ammonium bromide (CTAB) และ Sodium dodecylsulfate (SDS) เป็นสารต้นแบบ ซิลิกาที่สังเคราะห์ได้ทุกชนิดถูกนำไปเผาที่อุณหภูมิสูง จากนั้นวัสดุทุกชนิดจึงถูกนำไปศึกษาสมบัติทางกายภาพ และสมบัติในการสกัดสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ พบว่าซิลิกาที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงซึ่งสังเคราะห์โดยใช้ TEOS เป็นสารตั้งต้น และ CTAB เป็นสารต้นแบบ แสดงสมบัติในการสกัดสารลดแรงตึงผิวชีวภาพสูงที่สุด อันเนื่องมาจากโครงสร้างที่เป็นระเบียบและพื้นที่ผิวจำเพาะที่สูงของมัน นอกจากนั้นการสังเคราะห์ซิลิกาสามารถทำได้สำเร็จด้วยเช่นกัน โดยใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตขึ้นเองเป็นสารต้นแบบ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Lipopepeptide biosurfactants produced by Bacillus sp. have gained interest due to their high surface activities and antimicrobial potential that make them effective. However, the recent solvent extraction method which is used for extracting biosurfactant still has high cost and cannot extract the biosurfactant continuously. Hence, a novel method for biosurfactant extraction, which comprises of adsorption-desorption process using silica, was investigated. This study is about the synthesis of silica using 2 types of precursors which are a single precursor (i.e. tetraethoxysilane, TEOS) and a duo precursor (i.e. TEOS and (3-aminopropyl)triethoxysilane, APTES). The two types of surfactant which were Cetyltrimethyl ammonium bromide (CTAB) and Sodium dodecylsulfate (SDS) were used as template. All as-synthesized silicas were also calcined at high temperature to provide the corresponding calcined silicas. Their physical properties and biosurfactant extraction property were then examined. It was found that the calcined silica synthesized using TEOS as precursor and CTAB as template exhibited the maximum biosurfactant extraction property due to its crystalline structure and high specific surface area. In addition, the synthesis of silica was also achieved using an in-house biosurfactant as a template. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ |
en_US |
dc.subject |
ซิลิกา |
en_US |
dc.title |
การดูดซับสารลดแรงตึงผิวชีวภาพด้วยซิลิกาและการนำสารลดแรงตึงผิวชีวภาพไปใช้ประโยชน์เป็นสารต้นแบบในการสังเคราะห์ซิลิกา |
en_US |
dc.title.alternative |
Adsorption of Biosurfactant by Silica and Utilization of Biosurfactant as Template for Silica Synthesis |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
Amarawan.I@Chula.ac.th,amarawan@gmail.com |
|