dc.contributor.author |
เทียนฉาย กีระนันทน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2006-07-12T11:36:52Z |
|
dc.date.available |
2006-07-12T11:36:52Z |
|
dc.date.issued |
2525 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/737 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้พลังงานในครัวเรือนของชาวกรุงเทพมหานครนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมในการใช้พลังงานในครัวเรือนของชาวกรุงเทพมหานคร ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคพลังงานที่สำคัญ เพื่อหาทางที่จะพิจารณาถึงมาตรการที่เหมาะสมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้พลังงานในครัวเรือนนั้น ๆ ให้เป็นไปโดยประหยัดยิ่งขึ้น แนวความคิดเกี่ยวกับตัวกำหนดพฤติกรรมการใช้พลังงานนั้นมีอยู่ว่า พฤติกรรมที่สะท้อนออกมาในรูปของปริมาณพลังงานที่ใช้ต่อหน่วยเวลานั้นจะมากหรือน้อยกว่าน่าจะขึ้นอยู่กับความรู้ที่มีเกี่ยวกับพลังงาน ทัศนคติหรือท่าทีที่มีต่อการประหยัดพลังงาน สภาพทางเศรษฐกิจของครัวเรือน จำนวนคนในครัวเรือน และการเปิดรับสื่อซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้และท่าทีที่อาจมีผลต่อการประหยัดพลังงานทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งในการสร้างแบบจำลองเชิงประจักษ์นั้นได้ขยายความจากแนวความคิดนั้นว่าความรู้เกี่ยวกับพลังงานนั้น น่าจะมาจาก 2 ตัวแปร กล่าวคือ การศึกษาในระบบ อันได้แก่ ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน กับความรู้ที่ได้จากนอกระบบซึ่งการวิจัยนี้ได้สร้างดัชนีวัดความรู้เรื่องพลังงานขึ้นเป็นเครื่องวัด ส่วนทัศนคติหรือท่าทีนั้นได้อาศัยวิธีการสร้างดัชนีแสดงทัศนคติขึ้นใช้วัด สภาพทางเศรษฐกิจได้ถูกำหนดเป็น 2 ส่วน ๆ หนึ่งได้แก่ รายได้ของหัวหน้าครัวเรือนหรือรายจ่ายของครัวเรือน อีกส่วนหนึ่งใช้การประเมินฐานะทางเศรษฐกิจในสายตาของพนักงานสัมภาษณ์เมื่อเก็บข้อมูล และการเปิดรับสื่อนั้นก็ได้สร้างดัชนีการเปิดรับสื่อเพื่อให้จับผลของทั้งการเปิดรับหรือไม่เปิดรับ และการเลือกสื่อที่อาจมีอิทธิพล โดยใช้วิธีถ่วงน้ำหนักสำหรับประสิทธิภาพของสื่อ 5 ชนิดไว้ในดัชนีที่สร้างขึ้นด้วย การทดสอบแบบจำลองในทางสถิติได้ใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอย โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจสำหรับโครงการวิจัยนี้โดยเฉพาะ ตัวอย่างครัวเรือนในกรุงเทพมหานคาที่ใช้สำรวจนั้นมีทั้งหมด 3,306 ครัวเรือน โดยเก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเมษายน 2525 การวิเคราะห์ในชั้นต้นได้แสดงให้เห็นถึงการมีความรู้เรื่องพลังงาน และการทดสอบความรู้เกี่ยวกับพลังงาน เพื่อนำมาสร้างดัชนีวัดความรู้เรื่องพลังงาน ซึ่งผลปรากฏว่า ชาวกรุงเทพมหานครโดยทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับพลังงานพอใช้ได้ ในส่วนของทัศนคติหรือท่าทีต่อการใช้และการประหยัดพลังงานก็ได้ทดสอบความเห็นต่อมาตรการประหยัดพลังงานทั้งในอดีต ปัจจุบันและในส่วนที่อาจเป็นไปได้ในอนาคต ตลอดจนที่เป็นไปในครัวเรือนของผู้ให้สัมภาษณ์เอง และในการใช้พลังงาน ก็ได้แสดงถึงเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้พลังงานในครัวเรือน ตลอดจนอายุใช้งาน จำนวน ปริมาณการใช้ วิธีใช้ ลักษณะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆเหล่านั้น ส่วนปริมาณการใช้พลังงานก็เป็นเครื่องชี้ถึงพฤติกรรมการใช้พลังงานที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยพลังงาน 3 ส่วนคือ ไฟฟ้า วัสดุเชื้อเพลิง และวัสดุหุงต้ม ในการวิเคราะห์หาตัวกำหนดพฤติกรรมการใช้พลังงานในครัวเรือน ซึ่งได้แยกออกเป็นรายเขตพื้นที่รวม 3 เขตได้แก่ เขตเมือง เขตต่อเมือง เขตชานเมือง และได้แยกออกตามลักษณะครัวเรือน ได้แก่ ครัวเรือนอยู่อาศัยอย่างเดียว กับครัวเรือนที่ใช้ที่อยู่อาศัยประกอบการด้วย ซึ่งเชื่อว่าจะมีพฤติกรรมการใช้พลังงานต่างกัน ผลที่พอสรุปได้กว้าง ๆ ก็คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลอย่างสำคัญต่อพฤติกรรมการใช้พลังงานในครัวเรือนโดยเฉพาะที่อาจเรียกได้ว่าขึ้นอยู่กับ "ความสามารถที่จะใช้จ่าย" นั่นเอง ข้อเสนอแนะที่สำคัญสำหรับมาตรการที่จะกำหนดขึ้นเพื่อให้เปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงานในครัวเรือนให้เป็นไปทางประหยัดจึงเน้นที่มาตรการทางอ้อม ที่ให้บังเกิดผลโดยสมัครใจ การใช้มาตรการแบบบังคับนั้นนอกจากจะกระทบถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลด้วย |
en |
dc.format.extent |
114299239 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ที่อยู่อาศัย--การใช้พลังงาน |
en |
dc.subject |
การใช้พลังงาน--ไทย--กรุงเทพฯ |
en |
dc.title |
โครงการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้พลังงานในครัวเรือนของชาวกรุงเทพมหานคร : รายงานการวิจัย |
en |
dc.type |
Technical Report |
en |
dc.email.author |
Thienchay.K@chula.ac.th |
|