Abstract:
การคึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลก่อนและหลังการใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรควิตกกังวล ที่เข้าการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการคึกษา คือ โปรแกรมการใช้การเรียนรู้แบบกลุ่ม และได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมีอที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความวิตกกังวล (The State-Trait Anxiety Inventory) ของ Spielberger (1967) ซึ่งมีค่าความเที่ยงระดับ .90 และเครื่องมือกำกับการคึกษาเป็นแบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบ ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติแบบบรรยาย และ paired t-test ผลการคึกษาที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้ ระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรควิตกกังวลภายหลังการใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05