DSpace Repository

การศึกษาการใช้กลุ่มจิตบำบัดประคับประคองต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญพักตร์ อุทิศ
dc.contributor.author จินตนา รักคำ
dc.date.accessioned 2021-06-25T05:00:04Z
dc.date.available 2021-06-25T05:00:04Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74126
dc.description สารนิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังการใช้กลุ่มจิตบำบัดประคับประคอง เป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแนวทางการใช้กลุ่มจิตบำบัดประคับประคอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการศึกษา คือแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ของ Beck โดยเครื่องมือทั้ง 2 ชุดหลัง มีค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ที ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุก่อนและหลังการใช้กลุ่มจิตบำบัดประคับประคองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 13.84) โดยคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าหลังการใช้กลุ่มจิตบำบัดประคับประคอง มีค่าลดลง กว่าก่อนการใช้กลุ่มจิตบำบัดประคับประคอง (x̅ = 20.90 และ 16.95 สำหรับก่อนและหลังการใช้กลุ่มจิตบำบัดประคับประคอง ตามลำดับ)
dc.description.abstractalternative The purpose of this study project was to compare the depression of the elderly before and after attended the group supportive psychotherapy. The study design was the one group pretest-posttest design. A sample of 20 depressed elderly who met the inclusion criteria was perposively recruited from Bangchaocha Elderly club. Research instrument was the group supportive psychotherapy therapy guideline which was tested for content validity by three experts. The monitoring instrument was Self - esteem Inventory. Beck Depression Inventory was used to evaluate the study result. The Cronbach's Alpha coefficient reliability of the two latter instruments were reported as .85 and .82, respectively. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Paired t - test. Major findings were as follows: The mean of depression scores in elderly before and after receiving the group supportive psychotherapy were significantly difference at p.05 level (t = 13.84) by which the mean of depression scores after using group psychotherapy were lower than that before (X = 20.90 and 16.95 for pretest and posttest, respectively).
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2126
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ -- ไทย en_US
dc.subject จิตบำบัดแบบประคับประคอง -- ไทย en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ -- สุขภาพจิต -- ไทย en_US
dc.subject Depression in old age -- Thailand en_US
dc.subject Supportive psychotherapy -- Thailand en_US
dc.subject Older people -- Mental health -- Thailand en_US
dc.title การศึกษาการใช้กลุ่มจิตบำบัดประคับประคองต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง en_US
dc.title.alternative A study of group supportive psychotherapy on depression in elderly of Bangchaocha Elderly Club, Phothong District, Angthong Province en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Penpaktr.U@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.2126


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Nurse - Independent Studies [132]
    โครงการการศึกษาอิสระ คณะพยาบาลศาสตร์

Show simple item record