Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการดำเนินโครงการศึกษาอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการสอนสุขภาพจิตแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมสอนสุขภาพจิตแบบกลุ่ม ซึ่งพัฒนาขึ้นตามแนวคิดสุขภาพจิตศึกษา ของ Anderson (1980) และกระบวนการกลุ่มของ Marram (1978) เครื่องมือกำกับการศึกษาคือ แบบทดสอบความรู้ของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท และเครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดภาระการดูแล ซึ่งเครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่าน ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้มีค่า KR-20 เท่ากับ .80 และแบบวัดภาระการดูแลมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของภาระการดูแลก่อนและหลังดำเนินโครงการ โดยใช้สถิติทดสอบที (Dependent t-test) สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ค่าคะแนนภาระในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลทั้งโดยรวมและ รายด้าน คือ ภาระเชิงปรนัยและเชิงอัตนัย หลังการใช้โปรแกรมการสอนสุขภาพจิตแบบกลุ่ม ต่ำกว่าก่อนใช้โปรแกรมการสอนสุขภาพจิตแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 (t = 17.06,15.66 และ! 5.82 ตามลำดับ)