Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่วของผู้ป่วยจิตเภท ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมจัดการอาการหูแว่ว กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 20 คน ซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ โปรแกรมการจัดการอาการหูแว่วสำหรับผู้ป่วยจิตเภท และแบบสัมภาษณ์ลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่ว ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่วได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติทดสอบค่าที (paired t-test) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ลักษณะและความรุนแรงของอาการหูแว่วของผู้ป่วยจิตเภท หลังได้โปรแกรมการจัดการอาการหูแว่ว น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05