dc.contributor.advisor |
วงอร พัวพันสวัสดิ์ |
|
dc.contributor.author |
กมลวรรณ สัมพันธกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-07-13T03:21:03Z |
|
dc.date.available |
2021-07-13T03:21:03Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74432 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนารูปแบบการให้บริการผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบการให้บริการผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และเก็บข้อมูลจากหนังสือ วารสารวิชาการ และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคมในปัจจุบัน มีความสำเร็จในการให้บริการนายจ้างในการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน การนำส่งข้อมูลเงินสมทบ และการชำระเงินสมทบผ่านระบบ e-Payment ส่วนในส่วนผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล และขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40 แต่ยังไม่สามารถพัฒนาในส่วนของการยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ได้ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนารูปแบบการให้บริการผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม ประกอบด้วยหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ การมีนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจัยรองลงมา ได้แก่ ภาวะผู้นำ งบประมาณ ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในสำนักงานประกันสังคม โดยการพัฒนาระบบอยู่จะบนพื้นฐานของการใช้งานง่าย การเข้าถึงง่าย มีความเสถียร มีความน่าเชื่อถือ และมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนารูปแบบการให้บริการผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม ได้แก่ ความต่อเนื่องของผู้บริหารงานด้านดิจิทัล การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กร ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และการยอมรับจากผู้ใช้บริการ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ผู้รับบริการของสำนักงานประกันทุกคน ในชีวิตประจำวันไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องงานประกันสังคม สิทธิประโยชน์ของตนเอง แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้รับบริการต้องการจะรับรู้ ต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องของผู้รับบริการได้อย่างรวดเร็วและตรงประเด็น |
|
dc.description.abstractalternative |
This study aims to study the factors affecting the development of e-Service service system of the Social Security Office. Including problems obstacles and recommendations for the development of service models through the Social Security Office's e-Service system by using in-depth interviews and collecting information from books, academic journals and related websites.The results of the study showed that the development of e-Service At present, the Social Security Office has been successful in providing employers for insurers registration submitting contributions and making contributions through e-Payment system. As for the insured person can check personal information and register the insured Section 40 but still cannot develop in the part of the application for benefits. For factors affecting the development of service models through the Social Security Office's e-Service system It consists of many factors, the most important of which are The policy of the government to drive the economy and society using information and communication technology. Including leadership budget cooperation with external agencies and management of information technology within the Social Security Office.The development of the system is based on ease of use easy access stable reliable and up-to-dateProblems and obstacles to the development of e-service systems of the Social Security Office are continuity of the digital executive management of information technology within the organization cooperation with external agencies and acceptance from users. The recommendation of the study is that all insurance office recipients. In everyday life, there is no need to know about social security, their own benefits, but whenever the client wants to be aware, they must be able to respond quickly and to the point of their needs. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.374 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
อินเทอร์เน็ตในการบริหารรัฐกิจ |
|
dc.subject |
สำนักงานประกันสังคม |
|
dc.subject |
Internet in public administration |
|
dc.subject |
Social Security Office |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.title |
การพัฒนารูปแบบการให้บริการภาครัฐผ่านระบบ e-Service : กรณีศึกษาสำนักงานประกันสังคม |
|
dc.title.alternative |
Development of government's e-service system : a case study of social security office |
|
dc.type |
Independent Study |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.IS.2020.374 |
|