Abstract:
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของบุคลากร กรณีศึกษา : สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาถึงระดับความผูกพันที่มีต่อองค์การของบุคลากร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันที่มีต่อองค์การของบุคลากร และปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันที่มีต่อองค์การของบุคลากร โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยในสายงานด้านความปลอดภัยทางการบินพลเรือน ด้านการรักษาความปลอดภัย การกำกับดูแลทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน จำนวน 157 คน และใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน (Independent Sample T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และช่วงอายุอยู่ส่วนใหญ่ ได้แก่ กลุ่มคนช่วงอายุ 31 – 40 ปี สถานภาพส่วนใหญ่แล้วมีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีอายุงานส่วนใหญ่อยู่ที่ 3 ปี ในส่วนของการวิเคราะห์ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พบว่ามีระดับความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับมาก และการพิจารณาถึงปัจจัยที่ทำให้บุคลากรมีความรู้สึกผูกพันต่อองค์การ ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ เป็นปัจจัยที่บุคลากรให้ความสำคัญมาก ในส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การที่มีความสัมพันธ์กับผลของความผูกพันต่อองค์การของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้แก่ ได้แก่ ปัจจัยวัฒนธรรมหรือจุดมุ่งหมายขององค์การ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ค่าตอบแทน และคุณภาพชีวิต