DSpace Repository

การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการบริหารทรัพยากรบุคคลในช่วงวิกฤตโควิด-19: การศึกษาเปรียบเทียบโรงเรียนกวดวิชา 2 แห่ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริมา ทองสว่าง
dc.contributor.author จิดาภา พินิจกิจวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-07-13T03:21:05Z
dc.date.available 2021-07-13T03:21:05Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74435
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการบริหารทรัพยากรบุคคลของธุรกิจการศึกษาในช่วงที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษานี้เป็นเชิงคุณภาพในโรงเรียนกวดวิชาสองแห่งในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 การเก็บข้อมูลดำเนินการโดยการเก็บเอกสารภายในองค์กร ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงพบว่าโรงเรียนกวดวิชาทั้งสองแห่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนและการดำเนินงานภายในเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด บ่งชี้ว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก อย่างไรก็ตามโรงเรียนกวดวิชาสองแห่งมีความแตกต่างกัน คือ ความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน เนื่องจากฐานะทางการเงินและความพร้อมด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกลายเป็นความต้องการพื้นฐานของประชาชน ทั้งนี้ผู้เรียนบางส่วนกลับไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย อีกทั้งโรงเรียนที่ไม่เคยดำเนินการการเรียนการสอนออนไลน์มาก่อนต้องใช้ระยะเวลาปรับตัวและบริหารการเปลี่ยนแปลงมากกว่า สำหรับการบริหารทรัพยากรบุคคลโรงเรียนกวดวิชาทั้งสองแห่งมีการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสอนออนไลน์ และดูแลสวัสดิการของบุคลากรเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงขององค์กร โครงสร้างแบบแบนราบและวัฒนธรรมแบบเน้นตัวตนของโรงเรียนกวดวิชาที่เอื้อต่อการปรับตัวช่วยให้การเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานมาเป็นรูปแบบออนไลน์เกิดขึ้นได้สำเร็จ จากข้อค้นพบดังกล่าวงานวิจัยชิ้นนี้มีข้อเสนอแนะด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงคือ การส่งเสริมให้องค์กรด้านการศึกษามีการวางแผนด้านเทคโนโลยีล่วงหน้า ปรับรูปแบบวิธีการสอนและหลักสูตรให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยี ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลควรมีการอบรมด้านการใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับเรื่องการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงได้เพิ่มขึ้น
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study and analyze change management and human resource management in the education business during the Covid-19 pandemic. This qualitative research was conducted at two tutorial schools from March to October 2020. All the information was collected through internal documents, interviews, and observation of participants. From the change management perspective, it was found that both tutorial schools had converted all their classes and internal management to online systems, meaning that technology has now become a crucial part of the operations. However, these schools differed in terms of the students’ readiness for the online learning, given the differences in financial status and technological aspects -- especially with respect to Internet accessibility, which is now considered one of the basic needs. It was found that some students did not have access to the Internet; furthermore, the school that had not previously utilized an online learning platform needed more time to adapt and manage the change. From the human resource management perspective, both tutorial schools offered employees advice regarding online learning classes and welfare affected by change management. The flat organization structure and existential culture of the tutorial schools, facilitating changes also aided the accomplishment of the transition to online learning. These findings suggest the following actions: for change management, promoting the education business by advanced technology planning, revising the teaching methods and curriculum to align with the technology, and for human resource management, educating the staff on technology usage. Additionally, the government sector should put more emphasis on facilitating Internet accessibility for the general public.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.365
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject โรงเรียนกวดวิชา
dc.subject โรงเรียนกวดวิชา -- การบริหารงานบุคคล
dc.subject การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
dc.subject การบริหารงานบุคคล
dc.subject Cram schools
dc.subject Cram schools -- Personnel management
dc.subject COVID-19 Pandemic, 2020-
dc.subject Personnel management
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการบริหารทรัพยากรบุคคลในช่วงวิกฤตโควิด-19: การศึกษาเปรียบเทียบโรงเรียนกวดวิชา 2 แห่ง
dc.title.alternative Change management and human resource management during the COVID-19 crisis: a comparative study of two tutorial schools
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.365


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record