Abstract:
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นจุดเริ่มต้นของการลงทุน สร้างงาน สร้างมูลค่าจึงได้รับการ สนับสนุนจากภาครัฐให้เป็นส่วนฟื้นฟูและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจฐานราก โดยการ สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ การมีผู้นำที่ดีนอกจากจะนำพาองค์การไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ยังจะช่วยทำให้วิสาหกิจอยู่รอดและประสบความสำเร็จในสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้อีกด้วย จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาภาวะผู้นำและแรงจูงในองค์การ: กรณีศึกษา SMEs ในซีรีย์เกาหลี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยสองประเด็น ประเด็นแรกเพื่อศึกษาแรงจูงใจที่พัคเซรอยใช้ในการจูงใจการปฏิบัติงานของ โชอีซอ ชเวซึงควอน มฮยอนฮี ในร้านอาหารทันบัมในซีรีย์ Itaewon Class และประเด็นที่สองเพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่าง Strength-based Leadership ของ Rath and Conchie (2008) กับความสำเร็จของร้านทันบัม
ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจที่พัคเซรอยใช้ในการจูงใจการปฏิบัติงานของ โชอีซอ มฮยอนอี ซเวซึงควอน และลีโฮจิน ผ่านทฤษฎีแรงจูงใจของ Frederick Herzberg พบว่าพัคเซรอยใช้ด้านปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ด้านการได้รับยอมรับ ความก้าวหน้า ความรับผิดชอบ และด้านปัจจัยค้ำจุน ความสัมพันธ์กับหัวหน้า ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ค่าตอบแทน สถานภาพของตำแหน่งงาน นโยบายและการบริหารขององค์การ นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าแนวคิดภาวะผู้นำแบบจุดแข็ง (Strength-based Leadership) เป็นปัจจัยที่ทำให้ร้านทันบัมประสบความสำเร็จเนื่องจากตัวละครหลักของซีรีย์เกาหลีเรื่อง Itaewon Class มีภาวะผู้นำครบทั้ง 4 รูปแบบตามแนวคิด Strength-based Leadership ของ Rath and Conchie (2008) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำด้านการบริหาร (Executing) ผู้นำด้านอิทธิพล (Influencing) ผู้นำด้านการสร้างความสัมพันธ์ (Relationship Building) และผู้นำด้านคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) ข้อเสนอแนะงานวิจัย เนื่องจากสถานการณ์ และสภาพแวดล้อมของซีรีย์เกาหลีเรื่อง Itaewon Class เป็นบริบทของสาธารณรัฐเกาหลี ผู้วิจัยเสนอแนะให้นำแนวคิด Strength-based leadership มาศึกษาในบริบทของประเทศไทยต่อไป