dc.contributor.advisor |
ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา |
|
dc.contributor.author |
ณัฐธิดา ยืนยง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-07-13T03:21:10Z |
|
dc.date.available |
2021-07-13T03:21:10Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74445 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้กรมกำลังพลทหารบกได้ผลการประเมินการจัดการความรู้อยู่ในระดับดี ศึกษาการรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับ
การกลายเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และสังเคราะห์แนวทางการประยุกต์ใช้ผลการประเมินการจัดการความรู้ของกรมกำลังพลทหารบกเพื่อนำไปสู่การกลายเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับข้าราชการทหาร สังกัดกรมกำลังพลทหารบก ผลการศึกษาพบว่า ทุกปัจจัยมีระดับการปรากฎในองค์การอยู่ในระดับมาก และมีผลทำให้กรมกำลังพลทหารบกได้รับผลการประเมินการจัดการความรู้อยู่ในระดับดี สำหรับการรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการกลายเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ฝ่ายผู้ใต้บังคับบัญชาและฝ่ายผู้บังคับบัญชาต่างมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า กรมกำลังพลทหารบกมีการส่งเสริมการเรียนรู้ของกำลังพลทุกระดับภายในหน่วยงาน และมีกลยุทธ์ที่ใช้ในการกระตุ้นกำลังพลให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อค้นพบดังกล่าวงานวิจัยชิ้นนี้มีข้อเสนอแนะ คือ กรมกำลังพลทหารบกควรมีการส่งเสริมให้กำลังพลภายในหน่วยงานจัดทำความรู้ที่สำคัญในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเผยแพร่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต ควรสร้างรูปแบบการวัดและประเมินผลภายในหน่วยงานให้ครอบคลุมทุกมิติทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยให้กำลังพลทุกระดับมีส่วนร่วมในการจัดทำแบบประเมินผล นอกจากนี้ ควรมีการศึกษาองค์การภาครัฐหรือภาคเอกชนอื่นๆ ที่สามารถเป็นต้นแบบที่ดีในการกลายเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำมาพัฒนาแนวทางของกรมกำลังพลทหารบกต่อไป |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to study the perspectives towards the factors affecting the Directorate of Personnel’s knowledge management assessment results ranking as “good”, to investigate the perceptions and attitudes about becoming a learning organization and to synthesize the methods of how to use the knowledge management assessment results of the Directorate of Personnel to become a learning organization. The research design was mixed method design using a questionnaire and an in-depth interview collecting from Directorate of Personnel’s officers. All the factors were found at the high level and affected the organization to be rated as “good” in perceptions and attitudes of becoming a learning organization. Both subordinate officers and commanders were agreed that all levels of the officers’ learning had been supported and continual learning had been stimulated by various strategies. According to the findings, it was suggested that the organization should encourage their officers to create electronic media publishing the organization’s knowledge through internet and intranet system; the process of assessment should include all levels of officers and cover all the dimensions of both quantitative and qualitative; and the organization should also learn from other government organizations and private sectors to become a better learning organization. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.377 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การบริหารองค์ความรู้ |
|
dc.subject |
Knowledge management |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.title |
การรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการกลายเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ : การถอดบทเรียนจากผลการประเมินการจัดการความรู้ของกรมกำลังพลทหารบก |
|
dc.title.alternative |
Perceptions and attitudes towards becoming a learning organization : lessons learned from directorate of personnel's knowledge management assessment results |
|
dc.type |
Independent Study |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.IS.2020.377 |
|