Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการในทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง จำนวนทั้งสิ้น 206 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ตามสัดส่วนของจำนวนประชากร โดย มีรายละเอียดการคำนวณขนาดตัวอย่าง โดยใช้วิธีการของ ยามาเน่ (Yamane, 1973) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติ Independent Sample T-test และ One Way-ANOVA และ Pearson Correlation ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทั้ง 8 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านเรียงจากมากไปน้อยพบว่า ด้านสิทธิส่วนบุคคลและประชาธิปไตยในองค์การ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการทำงานตัวแปรทุกตัวมีผลต่อคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้ Pearson Correlation ตัวแปรทุกตัวมีค่า Sig. (2-tailed) น้อยกว่า 0.05 ทุกตัว 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานตัวแปรทุกตัวมีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นคุณภาพชีวิตของการทำงานของบุคลากรในองค์การในปัจจุบันไม่ว่าจะอยู่ในสาขาอาชีพ ใดก็ตาม ยังอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลางเท่านั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่แต่ละองค์การ/หน่วยงาน ควรต้องหันมาให้ความสนใจว่าจะมีแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงาน และความมั่นคงในการทำงานได้อย่างไรบ้าง ซึ่งควรจะต้องพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับ สภาพการทำงาน ความเสี่ยง และความต้องการของบุคลากรในหน่วยงาน/องค์การนั้น