Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดฆ่าตัวตายของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายก่อนและหลังการใช้ ได้แก่โปรแกรมให้คำปรึกษาครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายโรงพยาบาลลาดบัวหลวง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวและเครื่องมือทั้ง 2 ชุด ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่านและเครื่องมือแบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายมีค่าความเที่ยงเท่ากับ.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดฆ่าตัวตายของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหลังดำเนินโครงการโดยใช้สถิติทดสอบที(paired t-test) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ ความคิดฆ่าตัวตายของผู้พยายามฆ่าตัวตาย หลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05