DSpace Repository

ผลของการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ต่อความพึงพอใจในงานและความสามารถในการปฎิบัติงาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor จินตนา ยูนิพันธุ์
dc.contributor.author ทวีวัฒนา เชื้อมอญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-07-21T02:53:20Z
dc.date.available 2021-07-21T02:53:20Z
dc.date.issued 2540
dc.identifier.isbn 9746389491
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74603
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพี่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานและความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ และเปรียบเทียบความพึงพอใจในงาน และความสามารถในการปฏิบัติงาน หลังการทดลอง ของพยาบาลใหม่ ในกลุ่มทดลอง และในกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลใหม่จำนวน 34 คน จัดเป็นกลุ่มทดลอง 17 คน ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยงที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่แล้ว เป็นเวลา 2 เดือน และกลุ่มควบคุม 17 คน เครื่องมีอที่ใช้ในการทดลอง คือ คู่มือการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้เนื้อหาจากการสังเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์แนวลึก ผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง คือ แบบสอบถามความพึงพอใจใน งาน และแบบวัดความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ ซึ่งสร้างโดยผู้วิจัย และผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนื้อหาและหาค่าความเที่ยงแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ สถิติทดสอบที ผลการวิจัยที่สำคัญ คือ 1. ความพึงพอใจในงานและความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจในงานหลังการทดลอง ของพยาบาลใหม่ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการปฏิบัติงานก่อนการทดลอง ของพยาบาลใหม่ในกลุ่มทดลอง ต่ำกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 แต่ในหลังการทดลอง ความสามารถในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลใหม่ในกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน
dc.description.abstractalternative The purposes of this quasi- experimental research were to compare newly nurse graduates’ job satisfaction and job performance before and after using the nurse mentorship for newly nurse graduates model and to compare such variables after the experiment between newly nurse graduates in the experimental and control group. Research subjects consisted of 34 newly nurse graduates which were equally assigned into one experimental group and one control group. Newly nurse graduates in the experimental group worked with nurse mentors who had been trained and utilized the model for 2 months. The model, used in this experiment, was constructed by the researcher utilizing the content derived from the transcription of indepthed interview of experts. Research data was gathered by 2 research tools which were job satisfaction and job performance questionnaires. These tools were tested for content validity and internal reliability. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation and t - test. Major results of study were followed: 1. Job satisfaction and job performance of newly nurse graduates after the experiment were significantly higher than before the experimental, at the .05 level. 2. After the experiment, job satisfaction of newly nurse graduates in the experimental group was significantly higher than that in the control group, at the .05 level. 3. Before the experiment, job performance of newly nurse graduates in the control group was significantly higher than that of the experiment group. Nevertheless, after the experiment, there is no significant different between job performance of these graduates in the experiment and the control group.
dc.language.iso th en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject พยาบาลพี่เลี้ยง en_US
dc.subject พยาบาล en_US
dc.subject การพยาบาล en_US
dc.subject ความพอใจในการทำงาน en_US
dc.subject Mentoring in nursing en_US
dc.subject Nurses en_US
dc.subject Nursing en_US
dc.subject Job satisfaction en_US
dc.title ผลของการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลใหม่ต่อความพึงพอใจในงานและความสามารถในการปฎิบัติงาน en_US
dc.title.alternative Effects of using nurse mentorship for newly nurse graduates model on job satisfaction and job performance en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การบริหารการพยาบาล en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor DeanNurs@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record