DSpace Repository

การศึกษาการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

Show simple item record

dc.contributor.advisor รังสิมันต์ สุนทรไชยา
dc.contributor.author เพ็ญพิศ ปลื้มสุข
dc.date.accessioned 2021-07-22T05:21:55Z
dc.date.available 2021-07-22T05:21:55Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74652
dc.description สารนิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียมระดับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว เป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลัง (The one group pretest posttest design ) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย และแบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว ซึ่งผ่านการตรวจความตรงทางเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ค่าความเที่ยงของแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย วิเคราะห์หาความสอดคล้องภายในด้วยวีธี Kuder – Richardson – 20 เท่ากับ .88 และค่าความเที่ยงของแบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัววิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาคอนบาร์ค (Chronbach’s Alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที (paired t-test) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ หลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstract The purpose of this study was to compare the depression of older patients with depressive disorder before and after attending the family counseling program. The study design was one group pretest desigh. A sample of 20 older patients with depression living in the community at Amphawa district, Samutsongkram province participated the family counseling program. The program was validated by 3 profestional experts. The reliability of Thai Geriatric Depression Scale using Kuder- Richardson 20 scale was .88 and the family relationship scale using Chronbach’s Alpha Coefficient was.85. Data were analyzed by descriptive statistics and paired t-test. The finding was that the depression level of older patient’s after attending the family counseling program was significantly decreased at the .05 level.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2116
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ -- ไทย en_US
dc.subject การให้คำปรึกษาครอบครัว -- ไทย en_US
dc.subject Depression in old age -- Thailand en_US
dc.subject Family counseling -- Thailand en_US
dc.title การศึกษาการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม en_US
dc.title.alternative A study of using family conuseling program on depression of older persons with depressive disorder, Amphawa District, Samutsongkram Province en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Rangsiman.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.2116


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Nurse - Independent Studies [132]
    โครงการการศึกษาอิสระ คณะพยาบาลศาสตร์

Show simple item record