Abstract:
การศึกษาโครงการอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรควิตกกังวล ก่อนและหลังการได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรควิตกกังจำนวน 20 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติจากแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพยาบาลสถานพระบารมี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แผนกการใช้การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ(State Anxiety) ของ Spielberger (1967) และแบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบของ Hollon & Kendoll(1980) โดยเครื่องมือทั้ง 3 ชุด ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือ 2 ชุดหลังมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82 และ.95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบคาที (paired t-test) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ ความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรควิตกกังวลหลังได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 4.97 )