DSpace Repository

การศึกษาการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้เสพยาบ้าในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์
dc.contributor.author สุทิศษา แพงมา
dc.date.accessioned 2021-07-25T05:04:26Z
dc.date.available 2021-07-25T05:04:26Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74682
dc.description สารนิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการเผชิญปัญหา ของผู้เสพยาบ้า ในระยะทินฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ ก่อนและหลังการให้คำปรึกษากลุ่ม กลุ่ม ตัวอย่างคือผู้เสพยาบ้าในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ จำนวน 20 คน โดยคัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างที่มี คุณสมบัติตามเกณฑ์จากผู้เสพยาบ้าในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการให้คำปรึกษากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเผชิญปัญหา และแบบวัดความรู้ใน การเผชิญปัญหา ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความเชื่อมั่นคอนบาร์คแอลฟา 0.80 และ 0.89 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที (paired otest) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ความสามารถในการเผชิญปัญหา ของผู้เสพยาบ้าในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาล ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี หลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มสูงกว่าก่อนได้รับ โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative The purpose of this independent study project was to compare the coping ability of amphetamine abusers before and after the utilization of group counseling during the rehabilitation, Srimahaphot hospital, Prachinburi province. The sample of 20 patients who met the inclusion criteria were recruited from amphetamine abusers rehabilitation at Srimahaphot hospital, Prachinburi province. The study instrument was the group counseling which was developed by researcher and validated by three experts. The instrument for data collection were the Coping Ability Questionaire and Coping Knowledge Questionaire, with Cronbach’s alpha coefficiency reliability at 0.80, and 0.90 respectively. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviasion and paired t-test. Major result of study were the following. The coping ability of amphetamine abusers during the rehabilitation, Srimahaphot hospital, Prachinburi province after using group counseling was significantly higher than before using group counseling (t =20.34.p = .05)
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2126
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม -- ไทย en_US
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา) en_US
dc.subject คนติดยาเสพติด -- ไทย en_US
dc.subject ยาบ้า en_US
dc.subject Group counseling -- Thailand en_US
dc.subject Adjustment (Psychology) -- Thailand en_US
dc.subject Drug addicts -- Thailand en_US
dc.subject Amphetamine abuse -- Thailand en_US
dc.title การศึกษาการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้เสพยาบ้าในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี en_US
dc.title.alternative A study of using group counseling on coping ability of amphetamine abusers during rehabilation, Srimahaphot Hospital, Prachinburi Province en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pennapa.D@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.2126


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Nurse - Independent Studies [132]
    โครงการการศึกษาอิสระ คณะพยาบาลศาสตร์

Show simple item record