DSpace Repository

การศึกษาการใช้โปรแกรมการให้ความรู้รายครอบครัวต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลศรีธัญญา

Show simple item record

dc.contributor.advisor รังสิมันต์ สุนทรไชยา
dc.contributor.author วาสนา การิกาญจน์
dc.date.accessioned 2021-07-25T05:49:51Z
dc.date.available 2021-07-25T05:49:51Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74684
dc.description สารนิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทก่อน และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้รายครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยจิตเภทซึ่งรับบริการที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 20 คนและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทจำนวน 20 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมการให้ความรู้รายครอบครัว ซึ่งผ่านการตรวจความตรงเชิงเนี้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลและแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล และแบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยจิตเภท ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของเครื่องมือทั้งสามเท่ากับ .86 ,.83 ,82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรรนาและสถิติทดสอบที(paired t-test) ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้รายครอบครัว มีค่ามากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้รายครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (x̅ = 78.8, S.D. = 5.78 และ x̅ = 53.0,S.D = 10.33 ตามลำดับ t = 9.55)
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to compare medication adherence behaviors of schizophrenic patients before and after participating the family education program. A purposive sampling was 20 schizophrenic patients who were recruited at Inpatient unit, Srithunya hospital and 20 family caregivers. These sample were met the inclusion criteria. The study instrument was the family education program which was validated for content validity by 3 experts. Three instruments for Data collection were the medication adherence interview, the knowledge of caring questionares for caregivers, and the knowledge of daily practice questionares for schizophrenic patients. The reliability of these instruments was .86, .83, and .82 respectively. Data analysis were used by descriptive statistics and paired t-test Study results were as follows: Medication adherence behaviors of patients with schizophrenia after participating the family education program was significantly greater than those before participating such program, at the .05 level (x̅ =78.8, S.D.=5.78 and x̅=53.0, S.D.= 10.33, respectively: t=-9.55).
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2132
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผู้ป่วยจิตเภท -- การใช้ยา -- ไทย en_US
dc.subject สุขภาพจิตศึกษา -- ไทย en_US
dc.subject Schizophrenics -- Drug utilization -- Thailand en_US
dc.subject Mental health education -- Thailand en_US
dc.title การศึกษาการใช้โปรแกรมการให้ความรู้รายครอบครัวต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลศรีธัญญา en_US
dc.title.alternative A study of using the family education program on medication adherence behaviors of schizophrenic patients, Srithunya Hospital en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Rangsiman.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.2132


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Nurse - Independent Studies [132]
    โครงการการศึกษาอิสระ คณะพยาบาลศาสตร์

Show simple item record