Abstract:
วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Summary การศึกษาปมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐานและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินย่านศูนย์กลางการค้า ย่านสีลม-สุรวงศ์ เขตบางรัก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจสาขาบริการและโครงข่ายสาธารณูปโภค และสาธารณูปการในพื้นที่ เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา และประกอบการวางแผนพัฒนาย่านธุรกิจการค้าศูนย์กลางเมืองขนาดใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า การใช้ที่ดินของเขตบางรักมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ เริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นย่านชุมชนการค้าที่ชาวยุโรปเข้ามาตั้งถิ่นฐานแห่งแรก ปัจจุบันมีการใช้ที่ดินแบบผสมที่หนาแน่นมาก มีทั้งย่านธุรกิจการค้าบริการ ที่พักอาศัย อุตสาหกรรม คลังสินค้า และสถานที่ราชการ ย่านศูนย์กลางธุรกิจการค้าสีลม-สุรวงศ์ เขตบางรักจึงมีเอกลักษณะทางด้านการใช้ที่ดินที่หลากหลายและมีอาคารสูงก่อสร้างหนาแน่น เป็นย่านธนาคารที่มีความสำคัญในระดับชาติเนื่องจากเป็นศูนย์รวมธนาคารสำนักงานใหญ่ สถาบันการเงินต่าง ๆ มากที่สุดในกรุงเทพฯ มีความสะดวกในด้านบริการการขนส่งทางอากาศและการคมนาคมติดต่อระหว่างประเทศ ตลอดจนการติดต่อกับสถานทูต สถานกงศุลการค้าที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้เกิดการกระจุกตัวของธุรกิจการค้า และการท่องเที่ยวระดับนานาชาติในบริเวณที่แออัดการใช้ที่ดินและอาคารต่าง ๆ ที่ปลูกสร้างในย่านนี้มีเอกลักษณ์ที่เด่นกว่าที่อื่นในด้านรูปแบบอาคารขนาดใหญ่ ที่มีกิจกรรมรามแบบสรรพกิจ (Complex) และในด้านเอกลักษณ์ทางบรรยากาศที่เป็นการรวมกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่ ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นที่ทำมาหากินของคนหลายระดับหลายอาชีพ ทั้งผู้ที่อยู่ภายนอกเขต การพัฒนาย่านศูนย์กลางธุรกิจการค้าใจกลางเมืองสีลม-สุรวงศ์ นี้ มีรูปแบบศูนย์ธุรกิจขนาดใหญ่อยู่บริเวณหัวถนนสีลมด้านถนนพระรามที่ 4 มีอาคารขนาดใหญ่หนาแน่นมากที่สุด รองลงมาอยู่ปลายถนนสีลมช่วยตัดถนนมเหสักข์และถนนสุรศักดิ์ แนวโน้มการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจการค้า ตามแนวถนนสีลม-สุรวงศ์มีขอบเขตที่จำกัดด้วยราคาที่ดินที่สูงมาก ที่อยู่อาศัยที่เป็นบ้านขนาดเล็กที่หนาแน่นบริเวณเบื้องหลังอาคารขนาดใหญ่ปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการรวบแปลงที่ดินและการตัดถนนเชื่อมโครงข่ายหลักคือ สีลม-สุรวงศ์กับสาธร สี่พระยา และพระรามที่ 4 รวมถึงการจราจรที่ติดขัดมากในปัจจุบัน การขยายตัวจึงคาดว่ามีน้อยในแถบตะวันออก-ตะวันตก แต่จะมีความเป็นไปได้มากกว่าในการขยายตัวตามแนว เหนือใต้ ตามแรงกดดันที่จะเชื่อมถนนต่าง ๆ ในทิศทางเหนือใต้ ตามแรงกดันที่จะเชื่อมถนนต่าง ๆ ในทิศทางเหนือใต้ เช่น ตามโครงการตัด ถนนตามแนวคลองช่องนนทรีย์ ทางด่วนสายที่ 2 บางโคล่-แจ้งวัฒนะ ซึ่งผ่านถนนสุรศักดิ์ เป็นต้น นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีโอกาสการพัฒนารองรับการขยายตัวของศูนย์กลางธุรกิจการค้าแห่งนี้โดยสามารถเชื่อมโยงในแนวเหนือได้ ได้แก่ ที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบริเวณสามย่าน-บรรทัดทอง หรือบริเวณพื้นที่ในเขตยานนาวา ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับถนนวงแหวนรอบใน และทางด่วนทั้งสายเก่าและใหม่