Abstract:
การศึกษาครังนี้เป็นการดำเนินโครงการศึกษาอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความ วิตกกังวลของผู้ป่วยโรควิตกกังวล ก่อนและหลังการได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรควิตกกังวลจำนวน 20 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติจาก แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศุกร์คิริศรีสวัสดิ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย โปรแกรม การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม แบบวัดความวิตกกังวลประจำตัวและความวิตกกังวลขณะ ปีจจุบัน (State-Trait Anxiety) ของ Speilbergcr (1967) และแบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบ ของ Hollon & Kendoll (1980) โดยเครื่องมือทั้ง 4 ชุด ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือ 3 ชุดหลังมีค่าความ เที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .92, .86 และ .79 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (paired t-test) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ ความวิตกกังวลขณะปัจจุบันและความวิตกกังวลประจำตัวของผู้ป่วยโรควิตกกังวลหลัง ได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 (t= 13.11 และ 11.10 ตามลำดับ)