Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการดำเนินโครงการศึกษาอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมสุขภาพจิต ศึกษาครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือ ครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้รับ การคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 2 0 ครอบครัวเครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษา คือ โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว ซึ่งพัฒนามาจากจิราพร รักการ (2549) ตาม แนวคิดของ Anderson et al. (1980) ประกอบด้วย 5 กิจกรรมได้แก่ 1) การสร้างสัมพันธภาพและ แรงจูงใจ 2) การให้ความรู้เรื่องโรคจิตเภท 3) การพัฒนาทักษะการจัดการกับอาการที่เป็นปัญหา และการฟ้องกันการป่วยซำ 4) การส่งเสริมสุขภาพจิตและพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียด 5) การพัฒนาทักษะปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและค้นหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน เครื่องมือที่ใช้กำกับการศึกษาคือ แบบวัดความรู้ของผู้ป่วยและของผู้ดูแล เครื่องมือทุกชุดผ่านการ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เครื่องมือ 3 ชุดหลังมีค่าความเที่ยง อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .77 และคูเดอร์ริชาร์ดสันเท่ากับ .83 และ.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของคะแนนโดยใช้สถิติ ทดสอบที (Dependent t-test ) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน หลังได้รับโปรแกรม สุขภาพจิตศึกษาครอบครัว สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวม และรายด้านทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านการใช้ ยาทางจิตและสารเสพติด ด้านการดูแลสุขภาพจิต ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและด้านการ ป้องกันการกลับซ้ำ (t = -9.42, -5.07, -9.34, -5.27, และ -5.67 ตามลำดับ)