Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการดำเนินโครงการศึกษาอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอเสาไห้ จังหรัดสระบุรี ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 20 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ โปรแกรมสุขกาพจิตศึกษาครอบครัว ซึ่งพัฒนามาจาก จิราพร รักการ (2549) ตามแนวคิดของ Anderson et al. (1980) ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ I) การสร้างสัมพันธภาพและแรงจูงใจ 2) การพัฒนาความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับโรค 3) การพัฒนาทักษะการจัดการกับอาการ 4) การพัฒนาทักนะการเผชิญความเครียด 5) การพัฒนาทักษะทางสังคม และ 6) การติดตามทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ภาระการดูแล และ เครื่องมือที่ใช้กำกับการศึกษาคือแบบวัดความรู้ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เครื่องมือ 2 ชุดหลัง มีค่าความเชื่อมั่นอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 และ คูเดอร์ริชาร์ดสันเท่ากับ .84 ตามลำคับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของคะแนนโดยใช้สถิติทดสอบที (Dependent t-test) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปให้ดังนี้ คะแนนภาระในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแลทั้งโดยรวม และ รายด้าน คือ ภาระเชิงปรนัย และ เชิงอัตนัย หลังการใช้โปรแกรมการสอนสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่ำกว่าก่อนใช้โปรแกรมการสอนสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .05 (t = 15.56, 14.52 และ 16.61 ตามลำดับ)