dc.contributor.advisor | สุวรรณา สถาอานันท์ | |
dc.contributor.author | ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-08-26T13:36:33Z | |
dc.date.available | 2021-08-26T13:36:33Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75253 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจักรวาลวิทยา และจริยศาสตร์ในหลุนอี่ว์ ได้ถูกละเลยมานานเพราะมีความเข้าใจว่าในหลุนอี่ว์มิได้มีการกล่าวถึงประเด็นทางจักรวาลวิทยา วิทยานิพนธ์นี้เสนอว่าการมองวิถีจักรวาลหรือธรรมชาติกับศีลธรรม เป็นกระบวนการเดียวกันได้ปรากฏในหลุนอี่ว์อยู่แล้ว จากการก่อร่างแนวคิดทางปรัชญาในประเด็นต่างๆ ในหลุนอี่ว์ เช่น เรื่องเทียน เวลา และความเปลี่ยนแปลงอันเป็นพลวัต บ่งบอกว่าการดำรงอยู่ของมนุษย์ เป็นกระบวนการเดียวกันในเชิงสุนทรีย์-จริยธรรมกับจักรวาล จริยศาสตร์ของขงจื่อเป็น "จักรวาลจริยธรรม" ซึ่งเป็นจริยศาสตร์ที่มองว่าชีวิตที่ดีของปัจเจกบุคคล และสังคมจะต้องสัมพันธ์กับโลกธรรมชาติหรือจักรวาล และวิถีจริยธรรมมี "ที่มา" จากวิถีธรรมชาติ มโนทัศน์หลักในจริยศาสตร์ขงจื่ออย่าง เหริน หลี่ และอี้ สามารถเป็นที่เข้าใจได้ในแบบจักรวาลจริยธรรม อย่างไรก็ตาม ขงจื่อมิได้สร้างจักรวาลจริยธรรมของตนอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์ เพราะมิได้อธิบายอย่างชัดเจนว่ามนุษย์จะรู้วิถีแห่งเทียนได้อย่างไร และมิได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างศีลธรรมกับธรรมชาติของมนุษย์ อีกทั้งยังจำกัดการเชื่อมโยงเทียนในฐานะเป็นที่มาของวิถีจริยธรรมไว้เฉพาะจวินจื่อและปราชญ์เท่านั้น ในเมิ่งจื่อมีการพัฒนาทัศนะเรื่องเหรินซิ่ง ซึ่งคงท่าทีที่ว่าวิถีแห่งจักรวาลกับศีลธรรมเป็นกระบวนการเดียวกันต่อจากขงจื่อ เมิ่งจื่อมองว่าเทียนเป็นที่มาของวิถีจริยธรรมเช่นเดียวกับขงจื่อ แต่เมิ่งจื่อขยายบทบาทของเทียนว่า เป็นที่มาของวิถีจริยธรรมในแง่ที่ว่า เทียนกำหนดวิถีจริยธรรมผ่านซิ่งของมนุษย์ การเข้าใจซิ่งของมนุษย์จึงเป็นการเข้าใจวิถีจริยธรรมและความเป็นจริงของเทียนด้วยวิทยานิพนธ์นี้อ้างเหตุผลว่า เหรินซิ่งในทัศนะของเมิ่งจื่อเป็นทั้งมโนทัศน์เชิงชีววิทยาและ มโนทัศน์เชิงผลสำเร็จทางวัฒนธรรม สิ่งที่มนุษย์มีเหมือนกัน คือเชื้อหน่อในจิต/ใจที่มีแนวโน้มทางศีลธรรมตามธรรมชาติอยู่ก่อน แต่แนวโน้มทางศีลธรรมนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นหรือเป็นจริงได้ ถ้าไม่ผ่านกระบวนการทางสังคมหรือครอบครัวด้วย มนุษย์มิได้กลมกลืนกับเทียนตั้งแต่เกิด แต่มนุษย์จะต้องสร้างความกลมกลืนกับเทียน ผ่านการพัฒนาและขัดเกลาเชื้อหน่อทางศีลธรรมในจิต/ใจด้วย นอกจากนี้ เมิ่งจื่อได้พัฒนาจักรวาลจริยธรรมจากฐานเรื่องเหรินซึ่งดังกล่าว ในเรื่องความแตกต่างระหว่างอี้ที่มาจากภายในและภายนอกจิต/ใจ ความสัมพันธ์ระหว่างจิต/ใจกับชี่ และการขยายเหริน ทั้งนี้ในเมิ่งจื่อ จักรวาลจริยธรรมของสำนักขงจื่อได้พัฒนาเป็นระบบที่สมบูรณ์ | en_US |
dc.description.abstractalternative | A study of the relationship between cosmology and ethics in the Analects has been overlooked for a long time because there are understandings that cosmological issue is not discussed in the Analects. This dissertation proposes that the correlation between the way of cosmos or nature and morality already appears in the Analects. A philosophical construction of various discussions in the Analects on heaven (tian), time, and dynamics of change points to an ethico-aesthetic correlation between human existence and the cosmos. Confucius's ethics is "Cosmo-ethics" which considers that the good life of the individual and the social would reflects a harmonization with nature or cosmos, and the way of nature is the "source" of that morality. Major concepts in Confucian ethics, namely, humanness (ren), propriety (li) and righteousness (yi) can be conceptualized and understood from this Cosmo-ethics perspective. However, Confucius's Cosmo-ethics is not developed into a systematic whole as Confucius does not explicate how the way of heaven is known and the relationship between morality and human nature is not explored. Moreover, Confucius limits the knowledge of the way of heaven only to the sage and the junzi. In the Mencius the conception of human nature (renxing) reflects a development of the idea that the way of nature correlates with morality . Like Confucius, Mencius considers heaven as the source of morality, but he extends that role of heaven as the source of morality in the sense that heaven regulates morality through human nature. In this way, understanding human nature is both an understanding of morality and the reality of heaven. This dissertation argues that human nature, according to Mencius, is both a biological and a cultural achievement concept. All human beings have the sprouts of virtue which naturally are moral predispositions in their heart-mind, but the development and achievement of these sprouts also depend on the social process or relationships within the family. Human beings are not innately endowed with heaven, but develop through moral cultivation of the sprouts of virtue in heart-mind. Moreover, Mencius develops Cosmo-ethics from his view of human nature, namely, the differences between righteousness from inner and outer heart-mind, the relationship of heart-mind and vital force (qi), and the extension of humanness. Thus, we can argue that the Confucian Cosmo-ethics is developed into a systematic whole in the Mencius. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | จักรวาลวิทยาและจริยศาสตร์ในปรัชญาสำนักขงจื่อ | en_US |
dc.title.alternative | Cosmology and ethics in Confucianism | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ปรัชญา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |