DSpace Repository

การใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทัชชมัย ฤกษะสุต
dc.contributor.author พสิษฐ์ เจนดิษฐการ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-08-31T04:17:28Z
dc.date.available 2021-08-31T04:17:28Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75320
dc.description เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 en_US
dc.description.abstract รูปแบบการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันเพื่อตอบสนองภาคอุตสาหกรรมและระบบทุนนิยมในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เช่น เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวและเกษตรกรรมแบบใช้สารเคมีทางการเกษตร ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ จนมิอาจตอบโจทย์ความยั่งยืนในระยะยาวได้ เกษตรกรรมแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) เป็นระบบเกษตรกรรมที่สร้างความสมดุลระหว่าง สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ คือ การทำเกษตรกรรมที่ต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและความสมดุลของระบบนิเวศควบคู่กันโดยไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร ในขณะเดียวกัน ก็สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ และเอื้ออำนวยให้สามารถใช้ทรัพยากรหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาจากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบัน และช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกร โดยมีรูปแบบที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป 6 รูปแบบ ได้แก่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรธรรมชาติ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน และไร่หมุนเวียน ในปัจจุบัน ประเทศไทยก็กำลังเผชิญกับปัญหาจากการทำเกษตรกรรมที่ไม่มีความยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติกฎหมายส่งเสริมเป็นการเฉพาะ คือ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. …. โดยร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวมีการกำหนดให้ใช้มาตรการส่งเสริมทางภาษี แต่ยังไม่ได้ระบุแนวทางที่เป็นรูปธรรมและชัดเจน รวมถึงยังไม่มีระบบงานรับรองมาตรฐานเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ซึ่งจะเป็นระบบที่เชื่อมข้อมูลระหว่างภาครัฐและเกษตรกรให้สามารถใช้มาตรการส่งเสริมได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย และโครงสร้างภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมในประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีการส่งเสริมผลผลิตการเกษตรบางประเภท เช่น ข้าวและผลผลิตที่ไม่ได้แปรรูป แต่ก็ไม่เป็นธรรม ขาดความยืดหยุ่นและมีข้อจำกัดอยู่หลายประการจนไม่ส่งเสริมให้เกิดเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ดังนั้น จึงควรหาแนวทางที่เหมาะสมในการใช้มาตรการเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดยเฉพาะมาตรการทางภาษี ซึ่งเป็นมาตรการที่งานศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นเป็นสำคัญ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทย en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.121
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เกษตรกรรม en_US
dc.subject ภาษีเงินได้ -- การหักลดหย่อน en_US
dc.title การใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืน en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Tashmai.R@Chula.ac.th
dc.subject.keyword เกษตรกรรมยั่งยืน en_US
dc.subject.keyword มาตรการทางภาษี en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2019.121


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record