DSpace Repository

มาตรการในการควบคุมขนาดบรรจุภัณฑ์ในสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
dc.contributor.author วัชราพร ผาวิจิตราสกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-05T09:49:09Z
dc.date.available 2021-09-05T09:49:09Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75411
dc.description เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 en_US
dc.description.abstract บรรจุภัณฑ์ถือเป็นสิ่งที่จําเป็นและสําคัญสําหรับสินค้าอุปโภคบริโภค แทบจะไม่มีสินค้า ใดที่จะไม่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์จึงมีหน้าที่หลักเพื่อบรรจุ ห่อหุ้ม ปกป้อง รักษาคุณภาพ ของสินค้า อํานวยความสะดวกในการขนส่ง การจําหน่ายสินค้า แต่เมื่อมีการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น ทําให้บรรจุภัณฑ์เข้ามามีบทบาทหน้าที่ด้านการตลาดในการช่วยส่งเสริมทางการตลาด ช่วยเพิ่มมูลค่า สินค้า เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ทําให้แนวความคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากเดิมที่จะ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน กลับกลายเป็น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่เกินจริงหรือเกินความจําเป็น เพื่อสนองตอบความสะดวกสบาย ในการอุปโภคบริโภคและการแข่งขันทางการตลาด จากการศึกษาพบว่ามีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีขนาด ใหญ่กว่าปริมาณที่บรรจุจริง โดยภายในบรรจุภัณฑ์มีพื้นที่ว่างเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 20 – 40 จึงเป็นการ ใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย ก่อให้เกิดการสร้างขยะโดยไม่จําเป็น การใช้บรรจุภัณฑ์สําหรับสินค้าอุปโภคบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ ในขณะเดียวกันตัวบรรจุภัณฑ์ก็มีอายุการใช้งานที่สั้นและกลายสภาพเป็นขยะอย่างรวดเร็ว จึงเป็น ภาระปัญหาในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมาก อันส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม การใช้ ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพอนามัย ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น มากกว่า 27 ล้านตันต่อปี โดยขยะที่เป็นบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้มีปริมาณสูงถึง 1 ใน 3 ของ ปริมาณขยะทั่วประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ในสินค้าอุปโภคบริโภคก็ยังไม่มีการ กําหนดในเรื่องของขนาดบรรจุภัณฑ์ที่จะนํามาใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยลดการใช้บรรจุภัณฑ์ได้ ในขณะเดียวกัน แม้รัฐบาลมีการนําหลักการ 3Rs คือ ลดการใช้ (Reduce) นํากลับมา ใช้ซ้ํา (Reuse) และแปรรูปนํากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มาประยุกต์ใช้ในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ ที่ฟุ่มเฟือยเพื่อลดการสร้างขยะ แต่หลักการดังกล่าวเป็นเพียงแนวนโยบายที่ไม่สภาพบังคับทาง กฎหมายจึงยังไม่สามารถนํามาใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษามาตรการของ ต่างประเทศพบว่า สาธารณรัฐเกาหลี มีการนําหลักการ 3Rs มาใช้เป็นมาตรการหลักในการแก้ไข ปัญหาขยะ โดยนํามาเป็นหลักการในการกําหนดมาตรการทางกฎหมายที่สามารถนํามาบังคับใช้ใน การควบคุมเพื่อลดการใช้บรรจุภัณฑ์ และลดปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษา ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้ประเทศไทยมีการแก้ไขปัญหาขยะโดยการ กําหนดมาตรการทางกฎหมายมาควบคุมการใช้บรรจุภัณฑ์โดยการกําหนดสัดส่วนพื้นที่ว่างภายใน บรรจุภัณฑ์และจํานวนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการหีบห่อสําหรับสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทที่เป็นสินค้าที่ ใช้ในชีวิตประจําวันและก่อให้เกิดขยะเป็นจํานวนมาก เช่นเดียวกับมาตรการของสาธารณรัฐเกาหลี เพราะมาตรการทางกฎหมายย่อมมีสภาพบังคับใช้ผู้ประกอบการยึดถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากเป็นแค่เพียงการรณรงค์ ส่งเสริม หรือขอความร่วมมือนั้น ย่อมไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ใน ระยะยาวได้ แต่อย่างไรก็ตาม การกําหนดมาตรการในการควบคุมขนาดบรรจุภัณฑ์ ควรมีการวางแผน และกําหนดระยะช่วงเวลาในการดําเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมตัวในการปรับเปลี่ยนบรรจุ ภัณฑ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกําหนดไว้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ กฎหมายและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.133
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สินค้าอุปโภคบริโภค en_US
dc.subject บรรจุภัณฑ์ en_US
dc.title มาตรการในการควบคุมขนาดบรรจุภัณฑ์ในสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศไทย en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Wirote.W@Chula.ac.th
dc.subject.keyword การจัดการบรรจุภัณฑ์ en_US
dc.subject.keyword การควบคุมขนาดบรรจุภัณฑ์ en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2019.133


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record