Abstract:
เคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัชิเนทเป็นโปรดรักของเคอร์คิวมินที่มีความคงตัวในบัฟเฟอร์ฟอสเฟต pH 7.4 และฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งสูงกว่าเคอร์คิวมิน อีกทั้งสามารถปลดปล่อยเคอร์คิวมินในพลาสมาได้ นอกจากนี้ การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทในหนูแรทแสดงให้เห็นว่าสารนี้สามารถกระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ดีและช่วยเพิ่มระดับของเคอร์คิวมินในพลาสมาได้ เคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคชิเนทจึงมีความน่าสนใจในการนำไปพัฒนาต่อเป็นยา ทั้งนี้ การศึกษาเมทาบอลิซึมในพลาสมาของสารที่มีหมู่เอสเทอร์นั้นเป็นหัวข้อการศึกษาเภสัซจลนศาสตร์ในหลอดทดลองหัวข้อหนึ่งที่มีความจำเป็นสำหรับกระบวนการพัฒนายาใหม่ ในงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษากระบวนการเมทาบอลิซึมเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทในพลาสมาของมนุษย์ซึ่งทำได้โดยวิเคราะห์หาปริมาณของเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทที่เหลืออยู่หลังจากบ่มในพลาสมาของมนุษย์ ณ เวลาต่างๆกัน ด้วยเทคนิค High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) จากนั้น คำนวณหาค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาและค่าครึ่งชีวิตของเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคชิเนทในพลาสมา ผลการศึกษาพบว่า เคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลชิสในพลาสมาของมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วโดยมีค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาเท่ากับ 0.1293 นาที-1 และค่าครึ่งชีวิตในพลาสมาเท่ากับ
5.36 นาที โดยเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทสลายตัวในพลาสมได้ไวกว่าในบัฟเฟอร์ฟอสเฟต pH 7.4 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีรายงานค่าครึ่งชีวิตที่ 7.66 ชั่วโมง ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าเอนไซม์ในพลาสมาซึ่งคาดว่าเป็นเอนไซม์เอสเทอเรสมีบทบาทในการเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคชิเนท โดยข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้ร่วมกับข้อมูลจากการศึกษาทางเภสัชจลนศาสตร์อื่นๆจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเคอร์คิวมินไดเอทิลไดซัคซิเนทเป็นยาต่อไป