Abstract:
เคอร์คูมิน (curcumin) เป็นสารพอลิฟินอสที่พบในขมิ้นชัน (Curcuma (onga L.) มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่
หลากหลายและมีความปลอดภัยสูง อย่างไรก็ตาม การประยุกด์ใช้เคอร์คูมินในทางคลินิกค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเคอร์คูมินถูกเมทาบอไลซ์อย่างรวดเร็วในร่างกายผ่าน phase | conjugation ส่งผลให้มีค่าชีวปริมาณออกฤทธิ์ต่ำ งานวิจัยนี้ จึงได้ทำการออกแบบและสังเคราะห์เคอร์คูมินไตเอทิลไตกลูตาเรต ซึ่งเป็นโปรดรักชนิดใหม่ของเคอร์คูมินและศึกษาความคงตัวของเคอร์คูมินตเอทิลไตกลูตาเรตในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟร์ pH 7.4 และในพลาสมาของมนุษย์ ผลการทดลองพบว่า เคอร์คูมินไดเอทิลไดกลูตาเรตสามารถสังเคราะห์ได้ด้วยปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันระหว่างหมู่ฟังก์ชันฟีนอลทั้งสองหมู่ของเคอร์คูมินกับกลูตาริกแอชิตมอนอเอทิลเอสเทอร์คลอไรด์ ได้ผลผลิตประมาณ 50.5%สารที่สังเคระห์ขึ้นผ่านการพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเทคนิคโปรตอนและคาร์บอน-13 นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนสเปกโตรสโกปี อินฟาเรตสเปกตรสโกปี แมสสเปกโตรเมทรี และการวัดจุดหลอมเหลวของสาร จากการศึกษาความคงตัวของเคอร์คูมินไตเอทิลไตกลูตาเรตโดยการวิเคราะห์หาปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH 7.4 ด้วยอัลตราไฮเพอฟอร์แมนซ์ลิควิตโครมาโทกราฟี และทำนายค่าคงที่อัตราเร็วการสลายตัว (Kobs) และค่าครึ่งชีวิต (t1/2)
โดยใช้จลนศาสตร์ของปฏิกิริยาอันตับหนึ่งเทียม พบว่าเคอร์คูมินไดเอทิลไตกลูตาเรตมีค่าเท่ากับ
2.48 x 10-2 นาที-1 และ 27.9 นาที ตามลำตับ เทียบกับเคอร์คูมินซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.39 x 10-2 นาที-1 และ 29.0 นาทีตามลำดับ จากการศึกษาการปลดปล่อยเคอร์คูมินจากเคอร์คูมินไตเอทิลไตกลูตาเรตในพลาสมาของมนุษย์ โตยการวิเคราะห์หาปริมาณเคอร์คูมินไดเอทิลไตกลูตาเรตที่ลดลงและเคอร์คูมินที่เกิดขึ้
น พบว่าเคอร์คูมินไดเอทิลไตกลูตาเรตสามารถปลดปล่อยเคออร์คูมินได้ โตยเคอร์คูมินไตเอทิลไดกลูตาเรตมีค่าคงที่อัตราเร็วการสลายตัวในพลาสมาเท่ากับ 5.88 x 10-2 นาที-1 และค่าครึ่งชีวิตเท่ากับ 11.8 นาที จากการที่เคอร์คูมินไตเอทิสไตกลูตาเรตมีค่าคงที่อัตราเร็ว การสลายตัวในพลาสมาของมนุษย์มากกว่านสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ pH7.4เป็นผลมาจากเคอร์คูมินไดเอทิลไดกลูตาเรตถูกเร่งให้เกิดการสลายตัวและปลตปล่อยเคอร์คูมิน ชื่งคาตว่าเกิดโดยปฏิกิริยาไฮโตรไลซิสผ่านเอสเทอเรสในพลาสมา ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า เคอร์คูมินไดเอทิลไตกลูตาเรตมีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อเป็นโปรดรักของเคอร์คูมินที่สามารถออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้ในอนาคต