dc.contributor.advisor | ภูรี อนันตโชติ | |
dc.contributor.author | ชญานี ปิ่นแก้ว | |
dc.contributor.author | วรรณธัช แก้วปานกัน | |
dc.contributor.author | วิสสุตา ชั้นประเสริฐ | |
dc.contributor.other | คณะเภสัชศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-09-14T04:34:46Z | |
dc.date.available | 2021-09-14T04:34:46Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75487 | |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและเอกสารมาตรฐานในการรายงานความปลอดภัยตลอดวงจรชีวิตของเภสัชภัณฑ์ในประเทศไทยและอื่นๆ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป คณะผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการทบทวนวรรณกรรม ทั้งนี้วงจรชีวิตของเภสัชภัณฑ์แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การศึกษาวิจัยที่ไม่ได้ทำในมนุษย์การวิจัยทางคลินิก การขึ้นทะเบียนยา และภายหลังยาออกสู่ตลาด จากการศึกษาพบว่าการศึกษาในช่วง Preclinic จะทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองเพื่อดูความปลอดภัยของยา ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน Good Laboratory Practice (GLP) ส่วนใหญ่อ้างอิงตาม OECD Principles on good laboratory practice แต่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นจะมี GLP ของประเทศตนเองในช่วงการวิจัยทางคลินิกจะใช้มาตรฐาน Good Clinical Practice ที่อ้างอิงตาม International Conference on Harmonization (ICH) แต่อาจมีการปรับให้เข้ากับบริบทของประเทศนั้นๆ เอกสารที่ใช้ยื่นขออนุญาตการวิจัยทางคลินิกจะต้องแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยของเภสัชภัณฑ์ และมีการควบคุมความปลอดภัยผ่านการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ โดยในทุกประเทศผู้วิจัยจะต้องรายงานอาการไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรงไปยังผู้ให้ทุนวิจัยทันที และผู้ให้ทุนวิจัยจะต้องรายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ภายใต้กรอบเวลาเดียวกัน คือ 7 วันสำหรับ Fatal and Life-Threatening Unexpected Adverse Drug Reaction และ 15 วันสำหรับ Serious and Unexpected Adverse Drug Reaction อืนโดยมีแบบฟอร์ม CIOMS-I ซึงใช้อย่างแพร่หลาย นอกจากนียังมีการส่งรายงานความปลอดภัยประจำปีเพื่อติดตามความปลอดภัยของการวิจัยทางคลินิก การขึ้นทะเบียนยาในทุกประเทศยึดตาม ICH Common Tech nical Document (CTD) ประไทยและสิงคโปร์ เตรียมเอกสารทะเบียนตาม ASEAN CTD ส่วนที่แสดงถึงความปลอดภัย ได้แก่ เอกสารเกี่ยวกับการทำวิจัยที่ไม่ได้ทำในมนุษย์ในส่วนการศึกษาความเป็นพิษ รวมถึงเอกสารเกี่ยวกับการทำวิจัยทางคลินิกผู้ยื่นคำขอจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลความปลอดภัยและยื่นไปยังอย. ซึ่งหน่วยงานจะพิจารณาประโยชน์-ความเสี่ยงของยาก่อนอนุมัติทะเบียนในส่วนของการติดตามความปลอดภัยหลังการขึ้นทะเบียน ทุกประเทศจะมีระบบในการรายงานความปลอดภัยจากผู้ประกอบการ โดยในทุกประเทศกำหนดให้รายงานอาการไม่พึ่งประสงค์ชนิดรุนแรงภายใน 15 วัน ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่นกำหนดให้รายงานอาการไม่พึประสงค์ชนิดรุนแรงที่คาดคิดไว้ก่อนภายใน 30 วัน แบบฟอร์มที่ใช้รายงานในหลายประเทศคือ CIOMS-I form บุคลากรการแพทย์และผู้บริโภคสามารถรายงานความปลอดภัยได้ด้วยผู้ประกอบการต้องรวบรวมข้อมูล ประเมินประโยชน์-ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และรายงานให้ อย. ทราบเป็นระยะ ผ่าน periodic safety report ประเทศไทยมีระบบการติดตามความปลอดภัยสำหรับยาใหม่ที่พิเศษจากประเทศอื่นเรียกว่า Safety Monitoring Program (SMP) ซึ่งจะติดตามความปลอดภัยของยาใหม่เป็นเวลา 2 ปี ในช่วงนี้ยาใหม่จะถูกใช้เฉพาะในสถานพยาบาลที่มีแพทย์คอยกำกับดูแล และผู้ประกอบการจะต้องรวบรวมข้อมูลความปลอดภัยส่งอย. ทุก 4 เดือน อย. จะพิจารณาปลด SMP เมื่อข้อมูลการรายงานความปลอดภัยในช่วง 2 ปี ปลอดภัยเพียงพอจากการศึกษาพบว่าข้อกำหนดด้านความปลอดภัยมีการประสานให้สอดคล้องกันในทุกประเทศที่ศึกษา แต่ยังคงมีข้อกำหนดที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ | en_US |
dc.description.abstractalternative | A comparative study aimed to compare safety regulations and standard documents throughout drug product life cycle among Thailand, Singapore, Japan, United States of America, Australia, United Kingdom and European Union. Literature review was performed. Drug product life cycle was divided into 4 parts; preclinical studies, clinical studies, drug approval and post- marketing surveillance. Our findings indicated that in preclinical studies, toxicity testing in animals must follow Good Laboratory Practice (GLP). Most countries adopted OECD Principles on GLP. USA and Japan had their own GLP versions. Good Clinical Practice (GCP), according to International Conference on Harmonization (ICH), was used as a standard guidance for conducting clinical study. Prior to clinical trial initiation, sponsor or authorized person must submit investigational new drug application for FDA approval. The application must provide proof of safety evidence. During the trial, if serious adverse events were identified, investigators must report to sponsor and ethic committee immediately then sponsor has to report to regulatory authority within specified time frame. Fatal and life-threatening unexpected adverse drug reaction must be reported within 7 days. Other serious and unexpected adverse drug reaction must be reported within 15 days. "CIOMS-I" is a standard form used to report ADEs in many countries. When applying for new drug application, ICH Common Technical Document (CTD) was highly accepted and used by many countries as a standard for drug dossier preparation. Thailand and Singapore follow the ASEAN CTD. Safety information in CTD included but not limited to toxicity testing and clinical trials safety data. Sponsor gather safety information and submit to regulatory authority for approval. In post marketing surveillance, sponsor has to report serious adverse events using CIOMS-I form within 15 days. Japan allow longer window for reporting time frame, within 30 days. Not only health professional, but also consumer could report adverse events. Sponsor had to carry out risk assessment, then reported to regulatory authority through the periodic safety report. Thailand had safety monitoring program (SMP) that will monitor safety of new drug for 2 years. Safety data of drug in SMP list have to be send every 4 months. This study shows that each country have corresponding safety regulation although in some areas are different. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เภสัชกรรม | en_US |
dc.subject | pharmaceutical | en_US |
dc.subject | ยา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en_US |
dc.subject | Drugs -- Law and legislation | en_US |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในวงจรชีวิตของเภสัชภัณฑ์ใน ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ | en_US |
dc.title.alternative | Comparative studies of safety regulation in drug life cycle in Thailand and other countries | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.subject.keyword | เภสัชภัณฑ์ | en_US |
dc.subject.keyword | pharmaceutical | en_US |