Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยที่ใช้ในการผลิตนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษาในปีงบประมาณ 2557 โดยวิเคราะห์ในมุมมองของผู้ให้บริการทางการศึกษา ซึ่งจะเก็บรวมรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายส่วนของงบรายได้และงบแผ่นดิน โดยนำมาวิเคราะห์เป็นต้นทุนทางบัญชี ซึ่งรวมถึงค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์ ทั้งนี้ไม่รวมต้นทุนที่ดินสิ่งก่อสร้าง และค่าเสียโอกาส ผลผลิตของการศึกษานี้ได้แก่ การเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา งานวิจัย และงานบริการวิซาการวิซาชีพ หน่วยต้นทุนแบ่งเป็นต้นทุนทางตรงและทางอ้อม ต้นทุนทางตรงจะประกอบด้วยต้นทุนจากหน่วยต่างๆ ที่มีส่วนโดยตรงต่อผลผลิตของคณะ เช่น เงิน
ค่าตอบแทนอาจารย์และเจ้าหน้าที่ จะกระจายเข้าสู่ผลผลิตแต่ละประเภท โดยแบ่งตามสัดส่วนเวลาที่ใช้ในการผลิตผลผลิตดังกล่าว หน่วยต้นทุนทางอ้อมหมายถึงหน่วยสนับสนุนการผลิต ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายวิจัย ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนิสิต ฝ่ายนวัตกรรมทางการศึกษา ฝ่ายพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ และฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ ต้นทุนทางอ้อมจะถูกกระจายให้แก่หน่วยต้นทุนทางตรงโดยใช้วิธีแบบลำดับชั้น (Step down method) เมื่อนำต้นทุนทั้งสองประเภทมารวมกัน จะได้ต้นทุนรวมที่ใช้ในการผลิตผลผลิตแต่ละประเภท แล้วจึงนำมาเฉลี่ยเป็นต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยจากการศึกษาพบว่าต้นทุนรวมที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เพื่อให้ได้ผลผลิต 4 ประเภทคิดเป็น เงิน 244,270,126 บาท /ปี โดยใช้เพื่อผลิตบัณฑิต (ทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา) คิดเป็นร้อยละ 86.13 เป็นการให้บริการทางวิซาการวิชาชีพร้อยละ 10.10 และผลงานวิจัยร้อยละ 3.7 7 เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตเภสัชศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตร 6 ปี) ในภาพรวมพบว่าต้องใช้ต้นทุนเฉลี่ย 1 16,906 บาท/คน/ปี๊ เมื่อแยกวิเคราะห์ต้นทุนเฉลี่ยของนิสิตสาขาเภสัชศาสตร์และสาขาเภสัชบริบาลพบว่าต้องใช้ต้นทุนเฉลี่ย 147,461 และ 88,721 บาท/คน/ปี ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตบัณฑิตสาขาเภสัชศาสตร์สูงกว่าการผลิตนิสิตสาขาบริบาลในทุกชั้นปี เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการผลิตนิสิต 1 คนกับค่าเล่า
เรียนที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บกับนิสิต (36,000 บาท/คน/ปี) พบว่ารัฐบาลต้องรับภาระอุดหนุนการศึกษาให้แก่นิสิตเป็นมูลค่า 80,565 บาท/คน/ปี การผลิตนิสิตระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกหลักสูตรปกติมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 550,900 และ 665,321 บาท/คน/ปี ตามลำดับ หลักสูตรที่มีต้นทุนในการผลิตบัณฑิตสูงที่สุดได้แก่หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเภสัชเคมี (1,195,453 บาท/คน/ปี) ส่วนหลักสูตรที่มีต้นทุนต่ำที่สุดได้แก่ หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเภสัชกรรมคลินิก (121,468 บาท/คน/ปี) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนได้แก่จำนวนนิสิตในหลักสูตร และการเรียนที่เน้นการปฏิบัติการในห้องทดลอง จะเห็นได้ว่าต้นทุนที่ใช้ผลิตบัณฑิตมีค่าสูงกว่าค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บ (62,000 บาท/คน/ป๊) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีต้นทุนการผลิตบัณฑิตในทุกระดับสูงกว่าค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัย เรียกเก็บทั้งนี้พบว่าปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนสูงได้แก่จำนวนผู้เรียนในหลักสูตร การเรียนรูปแบบปฏิบัติการ การมีรายวิชาเลือกที่หลากหลาย