DSpace Repository

การสร้างโมเดลทางการเงินสำหรับการผลิตยาแผนโบราณในโรงพยาบาล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภูรี อนันตโชติ
dc.contributor.author ชาลิสา ปานสุวรรณ์
dc.contributor.author ธันยพร เถาสุวรรณ์
dc.contributor.author นันท์นภัส พลาดิสัย
dc.contributor.other คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-15T07:56:48Z
dc.date.available 2021-09-15T07:56:48Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75529
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract กระแสความนิยมในการใช้ยาแผ่นโบราณที่เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่นโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการใช้ การผลิต และการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับยาแผนโบราณและแพทย์แผนไทย รวมถึงการเบิกจ่ายผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร อย่างไรก็ตามการผลิตเภสัชตำรับในรพ.จำเป็นต้องมีคุณภาพดีและปลอดภัย มีการปรับปรุงหน่วยผลิตให้เป็นไปตาม GMP มีวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน หรือผู้ปฏิบัติงานที่เชี่ยวชาญ ทุกกระบวนการต้องใช้เงินลงทุน จึงมีคำถามว่ารัฐควรสนับสนุนการลงทุนหรือไม่การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การผลิตยาแผนโบราณในรพ. โดยใช้แบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์รายการยาที่นิยม สัดส่วนการกระจายยา และเปรียบเทียบข้อมูลกับกลุ่มผู้ผลิตภาคเอกชนในด้านราคาและรายการยาที่ ผลิต (2) เพื่อศึกษาจุดคุ้มทุนในการผลิตยาแผนโบราณในรพ.โดยสร้างโมเดลต้นแบบซึ่งประกอบด้วยต้นทุนทางตรงต้นทุนทางอ้อม และรายได้ ทั้งนี้ได้เลือกรพ.อู่ทองเป็นต้นแบบเพื่อสัมภาษณ์และเก็บข้อมูล ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลปีพ.ศ. 2561 โดยใช้มุมมองของรพ. การวิเคราะห์ใช้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value, NPV) อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Internal Rate of Return, IRR) และระยะเวลาคืนทุน (Payback period, PB) โดยกรอบการวิเคราะห์เท่ากับ 10 ปี ผลการสำรวจรพ. ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการผลิตยาสมุนไพรในรพ.ให้ได้มาตรฐาน GMP จำนวน 11 แห่งจากทั้งหมด 47 รพ. พบว่า ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร เถาวัลย์เปรียง เป็น 3 อันดับแรกที่มีปริมาณการผลิตสูงสุด นอกจากนี้พบว่าการผลิตยาแผนโบราณเพื่อใช้ภายในรพ.คิดเป็น 43.53% (10%-100%) และรายการยาแผนโบราณมี ความซ้ำซ้อนกับภาคเอกชนมี 48 รายการ คิดเป็น 30.97% ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาถูกกว่าของเอกชน ผลการศึกษาจุดคุ้มทุนก่อนลงทุนให้ได้ WHO-GMP พบว่ารพ. มี NPV = 39.16 ล้านบาท IRR = 27.24% และ PB = 1.25 ปี หากรพ.มีการลงทุนเพื่อให้ได้ WHO-GMP พบว่า NPV = 15.25 ล้านบาท IRR = 7.82% และ PB = 8.31 ปี แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 กรณีมีความคุ้มค่าที่จะลงทุนในการผลิตยาแผนโบราณ สำหรับการวิเคราะห์การอ่อนไหวพบว่าในทุกกรณีค่า NPV และ IRR ยังมีค่าเป็นบวก แสดงว่าการผลิตยาแผนโบราณมีความคุ้มทุน การศึกษานี้เป็นการพัฒนาโมเดลทางการเงินเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจว่ารพ.ควรลงทุนผลิตยาแผนโบราณหรือไม่ รพ.ที่ต่างกันก็มีต้นทุน แผนการผลิตและแผนการขาย ที่แตกต่างกัน การที่รพ.ต้องลงทุนเพื่อให้ได้ WHO-GMP ควรคำนึงถึงศักยภาพการผลิตในปัจจุบันและในอนาคตของรพ.และคำนึงถึงการขยายตลาดด้วย สำหรับการศึกษานี้พบว่าข้อจำกัดส่วนหนึ่งคือการที่รพ.ไม่ได้เก็บข้อมูลต้นทุนของแต่ละผลิตภัณฑ์ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าควรผลิตยาตัวใดเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือควรกำหนดราคายาอย่างไร เพื่อให้การผลิตยาแผนโบราณยังมีความคุ้มค่า นอกจากนี้หากมองในภาพรวมของประเทศ นโยบายที่สนับสนุนภาครัฐอาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิตภาคเอกชนด้วย en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ยา -- การบริหาร en_US
dc.subject Drugs -- Administration en_US
dc.subject ยาแผนโบราณ en_US
dc.subject โรงพยาบาล en_US
dc.title การสร้างโมเดลทางการเงินสำหรับการผลิตยาแผนโบราณในโรงพยาบาล en_US
dc.title.alternative Financial model development for hospital-based traditional medicine production en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.subject.keyword ยาแผนโบราณ en_US
dc.subject.keyword การผลิตยา en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pharm - Senior projects [100]
    โครงการปริญญานิพนธ์ คณะเภสัชศาสตร์

Show simple item record