Abstract:
การจัดแบ่งยประเภทาในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ซึ่งความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันทางกฎหมายควบคุมยาในแต่ละประเทศ ส่งผลให้ประชาชนในแต่ละประเทศทั่วโลกเข้าถึงยาได้ไม่เท่ากัน โดยผู้บริโภคสามารถเข้าถึงยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ได้ง่ายกว่ายาที่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ยาหลายชนิดจึงถูกเปลี่ยนประเภทเป็นยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงยาบางชนิดถูกเปลี่ยนประเภทเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ยากขึ้น จากสาเหตุหลักคือยานั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งความแตกต่างของการจัดประเภทยา (Drug Classification) แสะกระบวนการเปลี่ยนแปลงประเภทยา (Drus Reclassification) ของแต่ละประเทศนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด จุดประสงค์ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการ
จัดแบ่งประเภทยา และกระบวนการเปลี่ยนประเภทยาใน 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์แคนาดา ญี่ปุ่น และไทย วิธีดำเนินงานวิจัย รูปแบบการวิจัยที่ใช้คือการทบทวนวรรณกรรม ข้อมูลประเภทยาและกระบวนการเปลี่ยนประเภทยาสืบค้นจากฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐของแต่ละประเทศ ผลการวิจัย การแบ่งประเภทยาตามการควบคุมทางกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ยาที่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ และยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ โดยภายใต้ประเภทยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์มีการแบ่งกลุ่มย่อยหลากหลาย แตกต่างกันตามแต่ละประเทศ ดังนี้ สหรัฐอเมริกาไม่มีการแบ่งกลุ่มย่อย อังกฤษ และญี่ปุ่นแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย แคนาดา นิวซีแลนด์ และไทยแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์มีความแตกต่างกัน คือ ต้องอยู่ในความดูแลของเภสัชกรจำหน่ายในร้านยา หรือไม่มีเงื่อนไข จากการเปรียบเทียบกลุ่มยาในแต่ละประเทศ พบว่ามีความน่าสนใจ เช่น ยา
ปฏิชีวนะจัดเป็นยาที่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ใน 5 ประทศ แต่จัดเป็นยาอันตรายในประเทศไทย
เดสลอราทาดีน จัดเป็นยาที่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ในอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ยาอันตรายในไทย ยาที่บังคับจำหน่ายในร้านยาในนิวซีแลนด์ schedule U ในแคนาดา ยาซูโดอีเฟดรีน 60 มิลลิกรัมจัดเป็นยาที่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ในนิวซีแลนด์และไทย ยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ในสหรัฐอเมริกา จัดอยู่ในยาที่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ และยาที่จำหน่ายโดยเภสัชกรในประเทศอังกฤษ กระบวนการการเปลี่ยนแปลงประเภทยามีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ แต่อย่างไรก็ตามหน่วยงานรัฐบาลของแต่ละประเทศใช้เกณฑ์แนวทางการเปลี่ยนประเภทยาที่เหมือนกัน คือ ความปลอดภัย ความซับซ้อนของโรค ความสามารถในการวินิจฉัยโรคเองของผู้ใช้ยา ความจำเป็นในการเข้าถึงยาในระยะเวลาอันรวดเร็วและความเสี่ยงในการใช้ยาในทางที่ผิด ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษการเปลี่ยนประเภทยามีผลเฉพาะบริษัทยาที่ยื่นขอเท่านั้น แตกต่างจากในประเทศอื่นที่จะมีผลต่อยาทุกแบรนด์ที่ขึ้นทะเบียนในประเทศนั้น ๆ สรุปผลการวิจัย การจัดแบ่งประเภทยาในแต่ละประเทศ มีความแตกต่างกันเนื่องจากบริบทเฉพาะของแต่ละประเทศเมื่อมีการเปลี่ยนประเภทยา ทั้ง 6 ประเทศใช้เกณฑ์เดียวกันในการพิจารณาคือการประเมินประโยชน์และความเสี่ยง